วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

แรงบันดาลใจ

.
แรงบันดาลใจในการทำบล็อก Thai Coffee's

วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอก จากการที่พวกเราได้ไปชม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ( มิวเชียมสยาม ) พวกเราได้เรียนรู้ และพบเจอกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ของคนไทยมากมาย ทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็น วิถีการดำเนินชีวิต และกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดมาจนถึงลูกหลานในยุคปัจจุบัน และสิ่งที่พวกเราได้เห็น และประทับใจมากที่สุดในการเข้าชมครั้งนี้คือ ร้านคาเฟ่ ที่ขายพวยชา กาแฟสมัยก่อน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์มีการจัดร้านให้ดูเหมือนจริงอย่างมาก ดูคล้ายฉากในหนังภาพยนตร์ไทยสมัยก่อน เข้าชมแล้วรู้สึก อินตามอารมณ์ตนไทยสมัยก่อน

ดังนั้น กลุ่มพวกเราจึงคิดย้อนกลับมาถึง ร้านค้า และผลิตภัณฑ์กาแฟที่เป็นแบรนด์ของคนไทย ว่าก็มีเยอะแยะมากมาก รวมถึงการจัดร้านที่แสดงถึงความเป็นไทยเพื่อแสดงให้ทั่วโลกรู้ว่า คนไทยไม่แพ้ใครในโลกเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์กาแฟของคนไทยไม่ว่าจะเป็น กาแฟดำ ชาเย็น โอเลี้ยง เทียบเท่าเป็นกาแฟระดับพรีเมียมได้บ้าง เพราะในปัจจุบัน ตลาดของคนดื่มกาแฟมีการขยายตัวมากขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก ผลิตภัณฑ์กาแฟในท้องตลาดไม่ว่าจะกาแฟซอง กาแฟกระป๋อง กาแฟสดคั่ว หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาแก้วละ 10 บาท จนถึงแก้วละ 100 บาท ธุรกิจร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายในทุกแห่ง และแนวโน้มของคนดื่มกาแฟจะหันมานิยมรสชาติของกาแฟคั่วบด ที่มีรสชาติเข้มข้นหอมมันมากขึ้น ได้มีการขยายตัวจากต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมากขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลง และรสนิยมของผู้บริโภคดังกล่าว

อีกทั้ง จำนวนร้านกาแฟพรีเมียม มีการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการขยายตัวของมูลค่าตลาดกาแฟ โดยส่วนใหญ่มีอัตราเพิ่มขึ้นตามจำนวนช่องทางจำหน่ายได้แก่

1. ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า
2. อาคาร สถานที่สำคัญ เช่น ศูนย์ประชุม, สนามบิน, โรงแรม
3. โรงภาพยนตร์ ครบวงจรสมัยใหม่
4. ร้านสะดวกซื้อ
5. ปั๊มน้ำมัน

ร้านกาแฟพรีเมียม โดยคนไทยที่มีชื่อ ได้แก่ แบลคแคนยอน (Black Canyon) คอฟฟี่เวิลด์ (Coffee World) และบ้านไร่กาแฟ นอกจากนี้ยังมีร้านกาแฟ Brand Name ระดับนานาชาติขยายตลาดเข้ามาในประเทศได้แก่ สตาร์บัค (Star Buck)
.




.

รายชื่อสมาชิก

"
สมาชิกกลุ่ม @ มิวเซียมสยาม





นางสาวไพจิตร เภาโพธิ์ ID 1480305547 No. 26 Tel. 086-86473-33
.
นายธนา หินอ่อน ID 1480300522 No. 10 Tel. 086-76222-79



นายรัตนพันธ์ สมานประธาน ID 1480303534 No. 20 Tel. 085-13684-10

นายธนา ปุ่นประโคน ID 1480300217 No. 8 Tel. 084-12996-13
"

นางสาวจิราพร วราบุตร ID 1480300423 No. 9 Tel. 086-68928-48


"
นางสาวมนศิกานต์ จรัสพันธุ์กุล ID 1480308806 No. 37 Tel. 083-89398-77



นางสาวไปรยา บุญสังข์ ID 1480300548 No. 11 Tel. 087-16686-01



นางสาวมณทิรา บัวอินทร์ ID 1480313590 No. 51 Tel. 089-70066-64



นายจิระภัทร์ โภคาพิพัฒน์ ID 1480300050 No. 7 Tel. 085-82391-91
"


นายสิทธิโชค ชีพประกิต ID 1480305505 No. 25 Tel. 085-82354-91


"
นายปรัชญา ฤกษ์รัตน์ ID 1480303831 No. 21 Tel. 086-32123-32
"
.




.
.

History Coffee

.
.พัฒนาการกาแฟ และประเทศไทย

มนุษย์รู้จักดื่มกาแฟตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แถบทวีปอาฟริกามีเรื่องเล่าว่าปีประมาณ ค.ศ.1400 คนเลี้ยงแพะในเอธิโอเปีย ชื่อ คัลได สังเกตเห็นแพะที่เขาเลี้ยงกระโดดโลดเต้นอย่าง สนุกสนาน เมื่อกินผลไม้สีแดง ๆ คัลไดลองกินดูก็รู้สึกสดชื่น ภรรยาของเขาจึงไปถวายพระ พระได้นำไปเผาไฟเพื่อหวังลดอำนาจของผลไม้นี้ลง แต่กลับมีกลิ่นหอมน่าพิสมัย จึงนำมาทุบและใส่น้ำเพื่อดับไฟ เมื่อลองดื่มน้ำนั้น ก็รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ต่อมาพวกพ่อค้าจึงนำออกไปเผยแพร่

อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของกาแฟว่า มนุษย์คนแรกที่รู้จักและดื่มน้ำกาแฟ คือ มัฟทิ แห่งเอเดนในสมัยศตวรรษที่ 9 ส่วนอีกดำนานหนึ่งบอกว่า ผู้ที่รู้จักรสชาติของ กาแฟเป็นคนแรก คือ นักบวช ในศาสนาอิสลามชาวตะวันออกกลางชื่อ เดลิ ผู้มักง่ายเหงาหาวนอนเป็นนิจ ในขณะสวดมนต์ และนักบวชผู้นี้ได้พิชิตความง่วงด้วยการดื่มน้ำต้มจากกาแฟ ที่มีคนบอกมาอีกต่อหนึ่ง หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปทั่วจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของ ชาวตะวันออกกลาง สำหรับยุโรปนั้นเริ่มรู้จักกาแฟ เมื่อศตวรรษที่ 17 โดยนักแสวงโชค และผู้ที่ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในยุโรปมากยิ่งขึ้น ก็คือ สุไลมาน อัลการ ราชทูตประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส หรือราวปี ค.ศ. 1715 จากนั้นกาแฟ ก็มีราคาสูงขึ้น เพราะขุนนางฝรั่งเศสติดกาแฟกันงอมแงม ชาวยุโรปได้รู้จักดื่มกาแฟอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษ ที่ 19 แต่อยู่ในกลุ่มนักเขียน และผู้มีฐานะดีเท่านั้น ชาวฝรั่งเศสกับฮอลแลนด์มีปัญหาเรื่องพรมแดนในกานา กษัตริย์บราซิลได้ส่งทูตไปไกล่เกลี่ย และแอบนำกาแฟมาขยายพันธ์ในบราซิล จนกลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาจนถึงทุกวันนี้ปัจจุบันกาแฟที่นิยมปลูกในโลกมี 2 สายพันธ์ใหญ่ได้แก่

1. พันธ์โรบัสต้า (ROBUSTA)

กาแฟโรบัสต้ามีต้นกำเนิดในคองโก ทวีปอาฟริกา เป็นกาแฟที่ปลูกง่าย ตายยากเนื่องจากมีความต้านทานสูงแต่เมล็ดมีคุณภาพต่ำกว่า อาราบิก้า และไม่ค่อยมีความหอม ราคาจึงไม่สูงมาก และ มีสารคาเฟอินสูงกว่าพันอาราบิก้า ถึง 1 เท่าตัว

2. พันธ์อาราบิก้า (ARABICA)

กาแฟอาราบิก้า มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศ เอธิโอเปีย ปลูกมากทาง อินโดเนียเซีย อาฟริกาตะวันออก และอเมริกาใต้ รสชาติกาแฟ อาราบิก้า มีรสชาติละมุนละไม ชุ่มคอและมีกลิ่นหอมเย้ายวนใจ แต่เป็นกาแฟที่ต้องปลูกตามภูเขาหรือที่ราบสูง ในพื้นที่สูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,000 ฟุต จึงจะมีคุณภาพสูง หากนำไปปลูกในที่ต่ำกว่าระดับหรือได้รับปริมาณน้ำฝนที่ไม่พอเพียงก็จะได้ผลผลิตที่คุณภาพไม่ดี ดังนั้น กาแฟโรบัสต้า มีการปลูกมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดสุราษฎร์ และตรัง สายพันธ์อาราบิก้า มีการปลูกมากตามดอยสูงทางภาคเหนือ ในด้านร้านกาแฟมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ในอดีตร้านกาแฟในประเทศอังกฤษ เป็นที่พบปะของสังคมชั้นสูงเท่านั้น ร้านกาแฟในประเทศอิตาลี ตามเมืองท่าเรือ ใช้เป็นที่พบปะของพ่อค้าวาณิช และศูนย์การแห่งศิลปะ ในสหรัฐ ร้านกาแฟส่วนใหญ่เป็นที่พบปะของคนทำงาน

สำหรับประเทศไทยกาแฟเริ่มเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 6 และร้านกาแฟ มีวิวัฒนาการมาจากกาแฟหาบเร่ และสามล้อ และค่อยพัฒนามาเป็นร้านกาแฟขายโดยอาโก ชาวจีนโดยมีการเพิ่มของรับประทาน เช่น ขนมปังปิ้ง สังขยา และแยม นอกจากนี้ ร้านกาแฟไทยยังใช้เป็นสถานที่พบปะกันสำหรับสังคมในหมู่บ้าน และชุมชนในภายหลังจากการรับวัฒนธรรมจากตะวันตก และมีนักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศจำนวนมาก จึงเกิดร้านกาแฟทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคร้านกาแฟ จึงมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยขึ้นมาเป็นร้านกาแฟตามแหล่งธุรกิจและบันเทิง ร้านกาแฟในศูนย์การค้า และร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อ หรือมินิมาร์ท

ร้านากาแฟดังกล่าว มีการตบแต่งสร้างบรรยากาศ และความเป็นสมัยนิยมมีการเพิ่มเมนูอาหารหลักและอาหารว่างนอกจากกาแฟ และจะมีการตั้งราคาขายที่สูงกว่ารวมเรียกในรายงานนี้ว่าร้านกาแฟ พรีเมียม โดยส่วนใหญ่จะใช้กาแฟสด ได้แก่ กาแฟที่ใช้เมล็ดกาแฟที่คั่วสด มาบดและผ่านเครื่องชงกาแฟ
การบริโภคกาแฟ และประเภทตามขั้นตอนการผลิต

ประเภทสินค้า กาแฟสามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะตามสภาพขั้นตอนก่อนการบริโภค

1. เมล็ดกาแฟคั่ว (Coffee Bean)

ผลกาแฟ (Cherry) เมื่อเก็บจากต้นจะนำมาผ่านวิธีการแห้ง (Dry Method) หรือวิธีการเปียก (Wet Method) ซึ่งเป็นขั้นตอนการลอกเปลือกและผิวชั้นนอก เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ หลังจากนั้นเมล็ดจะถูกนำมาคั่วด้วยความร้อน ผู้บริโภคจะซื้อเมล็ดกาแฟที่คั่วแล้วมาบดเองหรือ ให้ร้านบดให้เป็นผงเพื่อนำไปเข้าเครื่องชงกาแฟ เพื่อดื่มต่อไป ผู้บริโภคในชั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นร้านกาแฟ หรือ คอกาแฟที่มีความรู้เรื่องคุณภาพ ความละมุน รสชาติกาแฟ

2. ผงกาแฟคั่วบด (Ground Coffee)

ผู้บริโภคซื้อกาแฟที่คั่วและบด และอาจมีการผสม (Blend) ระหว่างพันธ์หรือระดับการคั่วเพื่อให้ได้รสชาติหรือราคาเหมาะสมไปเข้าเครื่องกาแฟทานเอง ผู้บริโภคในชั้นนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 1

3. ผงกาแฟสำเร็จรูป (Instant Coffee)

กาแฟได้ผ่านกรรมวิธี ทำให้สำเร็จโดยทำให้เป็นผง และสามารถคืนสภาพ เมื่อผสมกับน้ำร้อนผู้บริโภคซื้อผลกาแฟไปชงดื่มได้ทันที ผู้บริโภคในชั้นนี้เน้น ความสะดวกและราคา

4. กาแฟกระป๋อง (Instant Coffee Canned)

กาแฟพร้อมดื่มเป็นกาแฟที่ ผลิตลักษณะจำนวนมาก บรรจุในกระป๋องหรือ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ความสะดวกและราคาเป็นปัจจัยในการบริโภคมากกว่าคุณภาพ


สำหรับผู้บริโภคกาแฟในร้านกาแฟพรีเมียม เป็นผู้บริโภคที่นิยมกาแฟสด เน้นที่คุณภาพ รสชาติ คุณภาพของกาแฟคั่วสด และต้องการความสะดวกสบายในการบริโภค ในสถานที่ร้านค้า (Outlet)
พฤติกรรมผู้บริโภค

จากการศึกษาพบว่า ชาวไทยมีการดื่มกาแฟเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีโดยพิจารณาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของกาแฟกระป๋องสำเร็จรูป เหตุผล 3 ประการที่ดื่มกาแฟ คือ

1. แก้ง่วง เพื่อทำงานหรือดูหนังสือ (45%)
2. รสชาติความหอมอร่อย (23%)
3. แก้กระหายน้ำ (15%)

สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการสำหรับกาแฟเรียงลำดับความสำคัญ คือ คุณภาพ ราคา และรสชาติ
.
.

บ้านไร่กาแฟ

.
แนวคิดธุรกิจที่ดำเนินการ

ในปัจจุบัน ตลาดของคนดื่มกาแฟมีการขยายตัวมากขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก ผลิตภัณฑ์กาแฟในท้องตลาดไม่ว่าจะกาแฟซอง กาแฟกระป๋อง กาแฟสดคั่ว หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาแก้วละ 10 บาท จนถึงแก้วละ 100 บาท ธุรกิจร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายในทุกแห่ง และแนวโน้มของคนดื่มกาแฟจะหันมานิยมรสชาติของกาแฟคั่วบด ที่มีรสชาติเข้มข้นหอมมันมากขึ้น ได้มีการขยายตัวจากต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมากขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลง และรสนิยมของผู้บริโภคดังกล่าว บริษัทฯ จึงเห็นช่องทางที่จะสามารถทำธุรกิจกาแฟได้จากวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่นิยมการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถยนต์ไปเองเป็นหมู่คณะ หรือครอบครัว ในวันสุดสัปดาห์ หรือเทศกาลวันหยุดต่างๆ โดยนำเสนอแนวคิดว่า “กาแฟคั่วบด สดเสมอสำหรับผู้เดินทาง” ซึ่งมีลักษณะหาซื้อได้สะดวก เหมือนเป็นเพื่อนเดินทาง ด้วยการเปิดเป็นร้านกาแฟลักษณะ to go ในปั๊มน้ำมันตามเส้นทางต่างๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้า ที่ชอบดื่มกาแฟสด ได้มีโอกาสดื่มได้ แม้ขณะเดินทางไปทำธุรกิจหรือท่องเที่ยว แทนการดื่มกาแฟชงสำเร็จ หรือกระป๋อง ตามร้านมินิมาร์ทต่างๆ ในปั๊มโดยใช้ตัวอาคารเล็กกระทัดรัด เน้นรูปลักษณ์ของความเป็นกาแฟไทยคุณภาพสดจากไร่ ใช้แนวความคิดด้านสถาปัตยกรรมไทยมาพัฒนาออกแบบให้กลมกลืนกับตัวสินค้าของบริษัทคือ กาแฟไทยสดจากไร่

บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจกาแฟภายใต้ชื่อ “บ้านไร่กาแฟ” ตั้งแต่ปี 2541 โดยทดลองดำเนินการ 3 สาขาใน 10 เดือน (ในปี 2541) และขยายเป็น 25 สาขา ในปี 2542 จนปัจจุบันในปี 2543 มีสาขารวม 56 สาขา โดยกระจายอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน JET หรือ ปตท ตามเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออก ในปี 2544 บริษัทตั้งเป้าหมายจะขยายสาขาตามเส้นทางให้ถึง 100 สาขา พร้อมกับการศึกษาแนวทางการตลาดที่จะสู่ตลาดในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ เช่น นครสวรรค์, เชียงใหม่, กรุงเทพฯ เป็นต้น

โอกาสธุรกิจและปัจจัยความสำเร็จ
บริษัทฯ ได้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จ ด้วยภาพที่ค่อนข้างจัดเจนว่า ผู้ที่มีรสนิยมในการดื่มกาแฟสด ที่คั่วแก้วต่อแก้ว จะสามารถหาดื่มได้เฉพาะในเมืองตามห้างสรรพสินค้า เมื่อต้องเดินทางไปทำธุรกิจไกลๆ ระหว่างทางไม่สามารถจะหากาแฟชนิดนี้ดื่มได้ จะหาดื่มได้ก็มีแต่กาแฟกระป๋อง กาแฟชงสำเร็จรูปรสชาติต่างกันมากกับกาแฟคั่วสด ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่ายก็อยู่ ในปั๊มที่มีรูปแบบทันสมัย การจัดการดี ไม่มีรถบรรทุกและสะอาด ซึ่งเป็นจุดที่เกื้อหนุนต่อการคัดสรร กลุ่มผู้บริโภคที่ตรงเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาถึงคู่แข่งขันเมื่อเทียบชนิดของผลิตภัณฑ์แล้ว คู่แข่งอย่างสตาร์บัคแบล็คแคนยอน ไม่ได้สนใจที่จะทำตลาดในแนวของบริษัท และการเป็นเจ้าตลาดของบริษัทได้ทำก่อนคู่แข่งขันและยึดพื้นที่ของปั๊มต่างๆ ตามเส้นทางไปมากแล้ว ทำให้คู่แข่ง มีความยากลำบากที่จะเข้าตลาดในแนวทางเดียวกันบริษัท

กลุ่มตลาดเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย

ตลาดเป้าหมายของบริษัทฯ อยู่ที่กลุ่มผู้มีการศึกษาทำงานในออฟฟิศที่นิยมดื่มกาแฟ อัตราเงินเดือนอยู่ประมาณ 8,000 – 10,000 บาทขึ้นไป โดยการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในระดับ C++ ถึง A จึงใช้แผนเข้าตลาดถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงให้ได้รับความสะดวกหาซื้อได้ง่าย ตามจุดที่กลุ่มเป้าหมายต้องเข้าไปใช้บริการ เช่น ตามสถานีบริการน้ำมัน ที่มีมินิมาร์ท ที่สะอาดใหม่ และใช้กลยุทธ์ราคาเทียบเคียงกับคู่แข่งขันในผลิตภัณฑ์เดียวกัน หรืออาจจะนำหน้าคู่แข่งเล็กน้อย

ข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

ด้วยแนวคิดที่ใหม่ และอาศัยช่องว่างทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่เป็นจุดแข่งขัน และสามารถยึดครองช่องทางจัดจำหน่ายที่อยู่ได้ก่อน พร้อมกับความแข่งขันของสถานีบริการน้ำมัน JET มาเสริมทำให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขัน และยึดครองช่องทางการจัดจำหน่ายดังกล่าวได้ ทำให้คู่แข่งยากที่จะเข้ามาแข่งขันได้

การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

จุดแข็ง (Strength)


1. บริษัทสามารถปรับปรุงสูตรกาแฟให้เป็นเอกลักษณ์ประจำร้านสร้างสินค้า และบริการเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
2. มี Brand Image ที่ดี ภาพลักษณ์ชัดเจน
3. มีพันธมิตรที่แข็งแรง คือปั๊ม JET โดยบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้บริหาร
- ในอดีตเคยใช้ Price Strategy
- แต่ได้ทำการวิจัยปรับเปลี่ยนเป็นการเน้น Service, ความสะอาดของสถานที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ลูกค้าเลือกใช้บริการปั๊มน้ำมันมีมินิมาร์ทซื้อ
- Jiffy : พื้นที่กว้าง 100 – 200 ตารางเมตร
: มีสินค้าหลากหลาย
: มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบความคุมอำนาจตัดสินใจจากสำนักงานใหญ่
: Dunkin Donut, S&P, Chester’s Grill, KFC
4. เปิดร้านกาแฟเจ้าแรกในการทำตลาดสำหรับคนเดินทาง
5. เป็นร้านกาแฟที่สะดวกซื้อ Stand Atond
6. เป็นกาแฟสดที่ผลิตแก้วต่อแก้ว
7. แสดงให้เห็นกระบวนการผลิตที่มีลีลาอันเป็นศิลปทางพื้นบ้าน

จุดอ่อน(Weakness)

1. เป็นธุรกิจที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
2. เครื่องอุปกรณ์การผลิต และอะไหล่ต้อง Import มาจากต่างประเทศมีผลต่อการผลิตและการขาย การบำรุงรักษาต้องใช้เวลาในการประสานกับผู้แทนจำหน่ายค่อนข้างช้า
3. การผลิตแก้วต่อแก้วทำให้ช้า เสียโอกาสในการขาย ใช้เวลาประมาณ 3 นาทีต่อ 1 แก้ว
4. ช่องทางการจำหน่ายต้องพึ่งพาผู้อื่น (ปั๊ม JET) ยังไม่มีช่องทางการจำหน่ายเป็นของตนเอง

โอกาส (Opportunity)

1. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปมีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น จึงมีช่องทางในการจัดจำหน่ายให้กับ ผู้เดินทางที่ชอบดื่มกาแฟสดแก้วต่อแก้ว
2. มีแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่อยู่ในประเทศ
3. โอกาสในการขยายตัวของพันธมิตร (เพื่อนคู่ค้า) ปัจจุบัน มี 130 สาขา และจะยังขยายตัวไปเรื่อยๆ
4. ตลาดกาแฟในสถานีบริการน้ำมันมีแต่การแข่งขันโดยตรงน้อย โอกาสจะยึดช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นรายเดียวค่อนข้างสูง

อุปสรรค (Threat)

1. การมี Strategic Partner โดยไม่มีสัญญาระยะยาวถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
2. กาแฟสดเป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่ม บริโภคเฉพาะเวลาและโอกาส
3. คุณสมบัติบางอย่างของกาแฟสามารถทดแทนด้วยเครื่องดื่มชนิดอื่นได้
4. กาแฟบรรจุกระป๋อง กาแฟสำเร็จรูปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป
5. กาแฟมีวัฒนธรรมในการดื่ม ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และพัฒนาให้เกิดการยอมรับ การขยายตัวทางการตลาดจึงไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

จากการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หากลวิธีในการสร้างตลาดบ้านไร่กาแฟ ไปสู่ความนิยมของผู้บริโภค โดยได้จากการออกแบบสอบถามบุคคลทั่วไปที่ดื่มกาแฟ จำนวน 300 คน พอสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
แนวคิดในการตลาดของบ้านไร่กาแฟสอดคล้องกับหลักของส่วนผสมทางการตลาดมีหลักอยู่ 4 อย่าง คือ
แนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ที่มีแนวคิดว่าจะต้องมีการพิจารณาออกแบบหรือ พัฒนาขึ้นมาได้ตรงความต้องการของตลาดหรือลูกค้าสอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟ ที่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟเพื่อเน้นความเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ โดยต้องเป็นกาแฟอาราบิกา ที่ปลูกโดยโครงการหลวงเท่านั้น ซึ่งสามารถเทียบได้กับผลิตภัณฑ์กาแฟสดจากต่างประเทศได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากหนังสือพิมพ์และจากการสัมภาษณ์ คุณสายชล เพยาว์น้อย เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างก็ได้กล่าวถึงบ้านไร่กาแฟในแนวความคิดนี้เหมือนกัน

แนวคิดด้านสถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ที่ต้องมีการพิจารณาสถานที่ เวลา และบุคคลที่สินค้าและบริการจะถูกนำไปขายให้ โดยผลิตภัณฑ์ของบ้านไร่กาแฟได้ยึดหลักนี้เช่นเดียวกัน โดยได้ใช้แนวคิดนี้เป็นกลยุทธ์หลักในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ได้กล่าวไว้ในข้อมูลจากหนังสือพิมพ์และจากการสัมภาษณ์คุณสายชล เพยาว์น้อย เพราะบ้านไร่กาแฟถือเป็นร้านกาแฟสดระดับคุณภาพริมทางรายแรกที่ตั้งอยู่ในปั๊มน้ำมัน และประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ทำให้เริ่มมีร้านกาแฟรายอื่นเริ่มทำการเลียนแบบ
แนวคิดด้านการส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) คือ การบอกกล่าวและการขยายความคิด ความเข้าใจให้ลูกค้าได้รู้ การส่งเสริมการจำหน่ายจะเกี่ยวข้องกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้สำหรับสื่อความ (Communicate) ให้ถึงตลาดเป้าหมาย ให้ได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ต้องการว่าได้จำหน่ายที่ ณ ระดับราคาใด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟที่นำกระบวนการส่งเสริมการขาย หรือ Promotion มาใช้เช่นการนำรถบ้านไร่กาแฟออกไปตามสถานที่หรือตามเทศกาลต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการจำหน่ายมากขึ้น เป็นต้น
แนวคิดด้านราคา (Price) ที่ต้องมีการกำหนดให้ถูกต้องเหมาะสม โดยราคาจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาให้เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ผลักดันผลิตภัณฑ์ที่ดีอยู่แล้วให้ออกไปสู่ที่ที่มีความต้องการ โดยวิธีการส่งเสริมการจำหน่ายที่ดี เหมาะกับตลาดเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟ ที่ได้กำหนดราคาเพื่อให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า อีกทั้งต้องการยกระดับสินค้ากาแฟสดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับตั้งแต่ C+ ขึ้นไปด้วย

แนวคิดด้านการส่งเสริมการตลาด (Marketing Mix) บ้านไร่กาแฟนำแนวคิดนี้มาใช้ 3 ข้อคือ
การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เพราะพนักงานของบ้านไร่กาแฟถือเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ชักจูงลูกค้าให้มาซื้อผลิตภัณฑ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวทักทายลูกค้าด้วยคำว่า “บ้านไร่กาแฟสวัสดีจ๊ะ” หรือลีลาการชงกาแฟที่น่าดึงดูดใจของพนักงาน ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์มากขึ้นได้ เป็นต้น

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ที่หมายถึง กิจกรรมทางการตลาด ซึ่งจัดหาคุณค่าหรือสิ่งจูงใจพิเศษเพื่อซื้อหาสินค้า และสามารถกระตุ้นให้เกิดการขายในทันทีเช่น การร่วมทำ Sales Promotion กับปั๊มน้ำมันเจ็ทโดยการแจกคูปองส่วนลดค่ากาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟ เมื่อเติมน้ำมันครบ 300 บาท หรือการให้คูปองส่วนลดค่ากาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟแก่ http://www.bkk.com/ เพื่อเป็นรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศในการตอบคำถาม เป็นต้น

การให้ข่าว และการประชาสัมพันธ์ (Publicity & Public Relation) ซึ่งเป็นการให้ข่าวสารแก่ผู้บริโภคซึ่งสอดคล้องการกระทำของคุณสายชล เพยาว์น้อย ที่ให้ตัวเองเป็นสื่อจากบ้านไร่กาแฟสู่บุคคลทั่วไป โดยการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ ในเรื่องราวของบ้านไร่กาแฟ ซึ่งวิธีการนี้ก็ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป ค่อนข้างสูงเพราะคุณสายชล เพยาว์น้อย เป็นผู้ที่มีแนวคิดที่โดดเด่น โดยการนำศิลปะมาประยุกต์กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างลงตัว

แนวคิดด้านการติดต่อสื่อสารด้านการตลาด ที่มีแนวคิดโดยกว้างที่รวมการสื่อสารทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ซึ่งบ้านไร่กาแฟได้มีการใช้การติดต่อสื่อสารทางการตลาดหลายด้านด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ตราสินค้า (Price) บ้านไร่กาแฟมีการสื่อสารด้วยตราสินค้าที่โดดเด่น โดยอาศัยชื่อที่มีเอกลักษณ์ แสดงความเป็นไทย แตกต่างจากร้านอื่นๆ ที่นิยมตั้งชื่อภาษาสากล รวมถึงการสร้างความจดจำด้วยการสะกดชื่อร้านที่ผิดไวยกรณ์ เป็นต้น หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) เอกลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ของบ้านไร่กาแฟ ทั้งถ้วยดินเผา และแก้วพลาสติก สร้างความแตกต่างกับตราสินค้าอื่นๆ เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าได้เร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งภาพพจน์ของสินค้าถึงความมีคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ หรือแม้กระทั่งรูปแบบของร้านที่โดดเด่นที่ผสมรูปแบบอาคารแบบตะวันออกและตะวันตก เป็นต้น

แนวคิดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ คือความสามารถในการคาดคะเนเหตุการณ์ เตรียมการหรือวางแผนอนาคต ซึ่งกล่าวได้ว่าคุณสายชล เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะความคิดของสายชล สอดคล้องตามหลักขององค์ประกอบของวิสัยทัศน์ทั้ง 3 ข้อดังนี้

1. ความมีทัศนคติเชิงสร้างสรรค์ คุณสายชล มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการมีร้านกาแฟที่มีคุณภาพ และมีเอกลักษณ์ของรูปแบบอาคารรวมถึงการให้บริการของพนักงาน ซึ่งทำให้ร้านบ้านไร่กาแฟมีความแตกต่างที่โดดเด่นกว่าร้านกาแฟสดอื่นๆ
2. ความมีเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ คุณสายชลเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างฝันของตัวเอง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ และศึกษาถึงการทำธุรกิจ จนเกิดเป็นบ้านไร่กาแฟในที่สุด
3. ความเฉลียวฉลาด หลักแหลม สิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถของคุณสายชล คือการดัดแปลงร้านกาแฟสดริมทาง เป็นร้านกาแฟสดระดับอินเตอร์ได้ อีกทั้งได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับได้โดยทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถกล่าวได้ว่าคุณสายชลเป็นบุคคลหนึ่งที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการตลาดเป็นอย่างยิ่งเพราะมีการแสดงออกถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี
ส่วนพันธกิจ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงจุดประสงค์ขั้นพื้นฐานขององค์กร และสิ่งที่องค์กรใช้ในการ
กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งคุณสายชล ก็ได้ทำการกำหนดพันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน เช่นกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟสดระดับอินเตอร์ เป็นร้านกาแฟที่มีสไตล์ และมีคุณภาพที่โดดเด่น โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลระดับกลางขึ้นไป เป็นต้น ซึ่งการที่ทางร้านบ้านไร่กาแฟได้กำหนดพันธกิจไว้เช่น ทางร้านก็ได้มีการอบรมพนักงานทุกคนให้รับรู้ถึงพันธกิจของร้านและถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้
5. แนวคิดเรื่องการสร้างตราสินค้า (Branding)

บ้านไร่กาแฟมีตราสินค้าที่โดดเด่น ที่สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี โดยมีการออกแบบที่สามารถสื่อสารกับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้บ้านไร่กาแฟยังมีเอกลักษณ์ของตราสินค้า (Brand Identity) เพราะประกอบด้วยโครงสร้างเด่น ๆ 2 อย่างคือ

1. Brand Positioning หรือการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ดีนั่นเอง เพราะบ้านไร่กาแฟได้วางตำแหน่งให้กับผลิตภัณฑ์ให้เป็น ร้านกาแฟสดของไทยที่มีรสชาติมีคุณภาพ มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ทั้งคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ อาคาร จัดจำหน่าย การบริการ ที่เน้นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน แต่มีสไตล์ที่ดูดีมีเอกลักษณ์จึงนับได้ว่า บ้านไร่กาแฟมีความฉลาดในการวางผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น อย่างเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างลงตัว

2. Brand Personality หรือการกำหนดบุคลิกให้กับตราสินค้า บ้านไร่กาแฟเองก็ได้มีการกำหนดบุคลิกให้กับสินค้าได้อย่างชัดเจน โดยเป็นคนที่ทันสมัย รักธรรมชาติชอบสินค้ามีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการกำหนดบุคลิกภาพเพราะหากสินค้าใดที่มีบุคลิกภาพที่ชัดเจน ย่อมสร้างให้เกิดความแตกต่างในใจของผู้บริโภคได้มากเท่านั้น

4. แผนการตลาด

กลยุทธ์ สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ

กลยุทธ์มีลักษณะ โดยรวมเป็นการสร้าง บุคลิกของสินค้า (Brand Personality) ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่เหมือนใครโดยมีรายละเอียด ได้แก่ รูปแบบ สถาปัตยกรรม

“บ้านไร่กาแฟ” เป็นร้านกาแฟไทยประยุกต์ โดยการผสมผสานที่ลงระหว่างสถาปัตยกรรมแห่งครัวเรือนไทย และความทันสมัยของร้านกาแฟสะดวกซื้อ ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสะท้อนความเป็นไทยและโลกตะวันออก (การใช้จั่วไม้ที่ไขว้กัน) โดยมีอาคารที่ได้จดลิขสิทธิ์ไว้แล้วสองอาคาร คือ อาคารออกแบบไร่นา และ อาคารบ้านไร่เพรียวลม ลักษณะอาคารเป็นอาคารทรงสามเหลี่ยมสูง ลักษณะจั่วไม้มีไขว้กันคาดทับด้วยชื่อ มีประตูบานกรอบไม้มองแต่ไกลคล้ายจั่วบ้านซึ่งสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นสถาปัตยกรรมตะวันออก (ไทยโมเดิร์น) กลยุทธ์ รูปแบบร้าน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้สอยและงบการลงทุนสามารถ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. รูปแบบ อาคารสามเหลี่ยม
2. ร้านแบบเคาน์เตอร์

การตกแต่งภายในและภายนอก

ผนักกรุด้วยไม้เนื้ออ่อนสีขาวอมเหลืองประดับด้วยรูปภาพที่สื่อถึงความผูกพันธ์ระหว่างครอบครัว พี่น้องญาติมิตร นิทาน และเรื่องเล่าต่างๆ การใช้แสดงไฟเหลืองออกสีส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นของบ้านสื่อบรรยากาศของบ้านในรูปแบบสังคมไทยพร้อมที่จะต้อนรับลูกค้า แขกผู้มาเยือนภายนอกได้ใช้ความคิดออกแบบให้มีน้ำไหลเป็นทางผ่านกระจกใสมองได้จากภายใน ภายนอกมีเฉลียงไม้พร้อมม้านั่งยาว ใต้ร่มประดู่กิ่งอ่อน (ประดู่อัสนา) 10 – 40 ต้น ในบรรยากาศร่มรื่น และพลับพลึงตีนเป็ดดอกสีขาวที่ปลูกอยู่รอบตัวอาคาร ตอบสนองแก่สุนทรียภาพ ของคอกาแฟ
สินค้า ชื่อสินค้า และการนำเสนอสินค้า

สินค้าหลัก ผลิตภัณฑ์ กาแฟหลักมี 6 ระดับ ชนิด แบ่งตามความเข้มข้นมากไปน้อยแตกต่างตามระยะเวลาการคั่ว ได้แก่ เอเชียเบลนด์ (0), ไทยเบลนด์ (1), บ้านไร่เบลนด์ (3), คอฟฟี่เบลนด์ (5), สยามเบลนด์ (7), บางกอกเบลนด์ (9)

มีป้ายร้าน ระบุชื่อสินค้า พร้อมแจ้งคุณลักษณะของกาแฟ ในด้าน รส กลิ่น สี เพื่อให้ความรู้ และส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย ในชื่อผลิตภัณฑ์ มีการให้ข้อมูล แก่ผู้บริโภค โดยแบ่งลักษณะการคั่วกาแฟ เพื่อจัดระดับความเข้มของ คาเฟอีน เช่น การจัดระดับการคั่ว จาก 0 – 9 (คั่วนาน – คั่วน้อย) หากคั่วนาน จะจัดระดับ 0 กาแฟจะดำสนิท มีรสหอมถึงหอมไหม้ แต่มีคาเฟอีนต่ำหากคั่วน้อยระดับ 9 จะมีสีน้ำตาล แต่มีคาเฟอีนมาก เหมาะสมตามความต้องการของผู้บริโภค นอกจากสินค้าที่มีการชงสดแล้ว สินค้าที่เตรียมล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็วในการขายได้แก่ กาแฟไร่นา และ ชาเพรียวลม

สำหรับขนม เป็นสินค้าเสริม ซึ่งเป็นสินค้าฝากขายโดยใช้กลยุทธ์การเลือกตัวแทนที่มีความอร่อยและสด ในท้องที่แต่ละแห่ง การควบคุมความสดโดยการเปลี่ยนสินค้าบนที่วางขนม ทุกๆ 15 วัน
การนำเสนอสินค้า

ภายใต้ร้านจะมีชื่อ “บ้าน” และมีเจ้าพนักงานที่มีชุดประจำสีส้มขลิบด้วยสีดำที่ปกและรังดุม มีป้ายตรารูปควันกาแฟอยู่ที่กระเป๋า ดูสะอาดตา ทำหน้าที่คล้าย “เจ้าของบ้าน” ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีในด้านมนุษย์สัมพันธ์ต้อนรับลูกค้าด้วยคำทักทายและยิ้ม ว่า “สวัสดี จ๊ะ” กาแฟเมล็ดคั่วสำเร็จจะตั้งในขวดโหลให้เห็นชัด ในแต่ละประเภทหลังการสั่งเครื่องดื่ม พนักงานจะชงกาแฟสด โดยการนำเมล็ดคั่วมา บดในเครื่องบด จากนั้นนำเข้าเครื่องชง ขั้นตอนดังกล่าวเน้นการ “โชว์ ลีลา” และ “ชงสดแก้วต่อแก้ว” เป็นการนำเสนอสินค้า

กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ประเภทตามเครื่องดื่ม คือ

1. ภาชนะดินเผารูปแก้วสำหรับกาแฟร้อน
เป็นกลยุทธ์ที่มีรูปแบบลงตัว ได้แก่
1.1 การจัดหาได้ง่าย และต้นทุนราคาภาชนะดินเผาที่ทำในประเทศจากจังหวัดสระบุรี
1.2 สร้างเอกลักษณ์การชงโดยการอุ่นภาชนะดินเผาขณะการชงกาแฟไปพร้อมกัน
1.3 ภาชนะดินเผาให้พร้อมรวมไปกับกาแฟเพื่อ สะดวกสำหรับผู้เดินทางนำไปเลย ซึ่งมีการออกแบบรูปแบบถ้วยดินเผาหลายรูปแบบเพื่อให้ เป็นที่ระลึก การสะสม และยังเป็นประโยชน์ใช้เป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้อีกด้วย
1.4 ส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้านแบบไทย ไทย

2. ภาชนะพลาสติก (pp) สำหรับกาแฟเย็น
ภาชนะสูงพร้อมฝาปิดขนาด 22 ออนซ์ มีการจัดพิมพ์สาระน่ารู้ นิทานคำกลอนเรื่องราวสะท้อนความเป็นไทยลงบนแก้ว เพื่อการสะสมเป็นที่ระลึก มีการเปลี่ยนแบบทุก 15 วัน
กลยุทธ์การจัดจำหน่าย

ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่

ร้านจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน ปัจจุบันเป็นช่องทางจัดจำหน่ายหลัก โดยตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และ JET สถานีบริการน้ำมัน JET มีมินิมาร์ท (Jiffy) นับว่าเป็น พันธมิตรธุรกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นสถานีน้ำมันที่มีระบบบริหารและลงทุนจากส่วนกลาง จากบริษัท Conoco ที่มีระบบการจัดการ ที่มีระบบทันสมัย และที่มีนโยบายขยายธุรกิจมี เงินทุนที่ดี และเน้นความสะอาดเป็นสำคัญ ร้านกาแฟบ้านไร่ มีแนวความคิดสอดคล้องกับ ในการขยายฐานลูกค้าประเภทอาหาร ร้านกาแฟบ้านไร่ยังได้รับ การสนับสนุนด้านข้อมูลการขายเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจขยายสาขาใน 2 ลักษณะ ได้แก่
1. JET จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายการสร้าง เคาน์เตอร์สำหรับจำหน่ายในมินิมาร์ท (Jiffy)
2. ทางบ้าไร่จะเป็นผู้สร้างร้านค้าลักษณะ stand-alone เพื่อจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะโดยมีรูปแบบตามที่จดลิขสิทธิ์ได้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่
กลยุทธ์การตั้งราคา
การตั้งใช้ราคามาตรฐาน และไม่หลากหลาย กาแฟเย็น จำหน่ายถ้วยละ 60 บาท กาแฟร้อนจำหน่ายถ้วยละ 50 บาท ขนมใช้ราคาประมาณ 15 – 30 บาท
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์
เนื่องจากร้านกาแฟบ้านไร่ได้รับรางวัลที่ 2 ในสาขา SMEs จากการประกวดแผนการตลาดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2543 ที่ผ่านมาการประชาสัมพันธ์ใน สื่อต่าง ๆ ในลักษณะข่าวจึงทำได้ง่าย โดยผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ การเน้นบุคคลเป็นสัญลักษณ์เจ้าของร้าน ได้แก่ คุณสายชล เป็นการสร้างภาพตัวแทน ร้านกาแฟบ้านไร่ โดยผ่านทางสื่อในลักษณะข่าวและข้อมูล
กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย
มีการจัดการส่งเสริมการขายร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน (Joint Promotion) ได้แก่
1. การแจกคูปองลดราคาเครื่องดื่มทุกชนิด 20% เมื่อเติมน้ำมันครบ 300 บาท
2. แจกคูปองแก่ลูกค้าร้าน Jiffy เพื่อแลกซื้อแก้วและสินค้าที่ระลึกของร้านในราคาพิเศษ
กลยุทธ์การโฆษณา
เป็นการร่วมมือกับปั๊มน้ำมัน JET ในลักษณะการตั้งป้ายนีออนกล่องไปหน้าสถานีบริการน้ำมันร่วมกับร้านอาหารในร้าน Jiffy เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเห็นขัดเจน
แผนกฉุกเฉินด้านการตลาด

ตามที่ได้วิเคราะห์จุดอ่อนของธุรกิจในบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ถึงปัญหาในช่องทางการจัดจำหน่ายที่ต้องพึ่งพาปั๊ม JET เป็นหลัก อีกทั้งมีระยะเวลาของสัญญาเป็นสัญญาระยะสั้น จึงถือเป็นจุดวิกฤตของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ หากคู่สัญญามีปัญหาและยกเลิก หรือไม่ต่อสัญญา จึงจำเป็นจะต้องมีแผนการ จัดจำหน่ายใหม่ ซึ่งถือเป็นแผนกฉุกเฉินของธุรกิจ เพื่อลดหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว อีกทั้งจะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ที่เพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้อีกทางหนึ่ง

ด้วยการแก้ไขปัญหาของช่องทางการจัดจำหน่าย ถือเป็นการแก้ไขปัญหา อันเป็นองค์ประกอบหลักของการตลาดแผนกฉุกเฉินจึงน่าจะเป็นลักษณะของแผนที่ต้องมีการวางแผนเป็นระยะยาว จึงจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายในอนาคต และสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของธุรกิจได้ คือ
1. หากปัญหาช่องทางการจัดจำหน่าย ที่พึ่งพาปั๊ม JET ไม่เกิด แผนฉุกเฉินนี้ก็จะสามารถเพิ่มยอดขายของธุรกิจ และเป็นการขยายตลาดได้อีกทางหนึ่ง
2. หาช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ โดยลักษณะเป็นซุ้มกาแฟ ในลักษณะ Stand Alone แทนบนถนนธุรกิจ ในเมืองใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่, เชียงราย, ขอนแก่น, หาดใหญ่, ภูเก็ต, กรุงเทพฯ เป็นต้น
ข้อดีข้อเสียของแผนฉุกเฉิดในการจัดหาช่องทางจำหน่ายใหม่
ด้วยจุดแข็งของลักษณะเป็น กาแฟเดินทาง เพื่อทดแทนร้านกาแฟที่เป็นลักษณะ STAND ALONE ตามห้างสรรพสินค้า เช่น BLACK CANYON, COFFEE WORLD, STARBUCK ซึ่งแต่ละร้านห่างไกลพอสมควร ผู้ที่ทำงานจะหาซื้อ หรือต้องการดื่มต้องเฉพาะเวลาพักเที่ยง หรือเลิกงานเท่านั้น การหาซื้อไม่สะดวก สำหรับผู้ทำงาน OFFICE ที่เป็นคอกาแฟสด มักจะประสบปัญหาดังกล่าวคือ
1. หากจะซื้อดื่มขณะทำงานค่อนข้างลำบาก เพราะไม่สะดวกในการจะเดินทางไปซื้อ
2. หากจะดื่มก็สามารถจะดื่มได้เฉพาะช่วงพักเที่ยง ซึ่งก็จะต้องรีบกลับเข้าทำงานต่อในช่วงบ่าย หรืออาจจะดื่มในช่วงเย็นหลังเลิกงาน ก็ต้องรีบกลับบ้าน ดังนั้นเวลาในการที่จะนั่งดื่มกาแฟจึงมีน้อย
จากปัญหาดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาสให้ บ้านไร่กาแฟ มองเห็นช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อบริการกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าว โดยใช้ลักษณะของการตั้งเป็นซุ้ม บ้านไร่กาแฟ ขึ้นตามจุดต่างๆ บนถนนธุรกิจ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท หรือตั้งอยู่ตามอาคารสำนักงานใหญ่ ๆ ที่มีบริษัทต่าง ๆ ตั้งอยู่
โดยประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคที่รู้จัก บ้านไร่กาแฟ ทราบว่าขณะนี้ บ้านไร่กาแฟ ได้เข้ามาบริการถึงสถานที่ทำงานของท่านแล้ว ตลอดจนการนำเสนอให้เห็นเป็นกาแฟแท้แบบไทย ๆ โดยวัตถุดิบผลิตในประเทศไทย และเป็นผลิตผลจากโครงการหลวง ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก เป็นการปลุกกระแสให้นิยมไทย เพื่อต่อสู้กับกระแสของ BRAND ต่างชาติ

จุดเด่นของการใช้ ซุ้มกาแฟ

1. เป็นการลงทุนที่ไม่สูงเท่าการเปิดเป็นร้าน STAND ALONE
2. สามารถดำเนินการได้ครั้งละหลายๆ จุด พร้อมๆ กัน
3. สามารถเลือกทำเลที่มีผู้สัญจรไปมามาก โดยไม่มีข้อจำกัดทางพื้นที่
4. ค่าเช่าต่างๆ ก็ถูกกว่า การเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า
5. มีความคล่องตัวสูง การโยกย้ายเปลี่ยนแปลงทำเลก็สะดวก ประหยัด

ข้อจำกัดของ ซุ้มกาแฟ

1. อาจจะมีปัญหาถ้าจะตั้งบนถนนที่เป็นจุดเป้าหมาย เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของกรุงเทพมหานครว่าสามารถอนุญาตให้ตั้งซุ้มตามทางเดินเท้าได้หรือไม่
2. การเก็บรักษาร้านที่เป็นซุ้ม ค่อนข้างมีความเสี่ยงในยามวิกาล เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในอาคารที่มียามรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา แต่สำหรับซุ้มที่อยู่ในอาคารที่มีการรักษาความปลอดภัย จะไม่ได้รับประโยชน์ในการทำประชาสัมพันธ์ เพราะผู้สัญจรไปมา อาจจะไม่ทราบว่ามีอยู่ในอาคารใดบ้าง
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าว จำเป็นจะต้องศึกษาและกำหนดถนนสายตัวอย่าง ซึ่งขอนำเสนอ
ถนนสีลม เนื่องจากเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญ ถือเป็นถนนเศรษฐกิจ ที่มีกลุ่มคนชั้นกลาง คนทำงาน เป็นกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ตลอดเส้นทางของถนนสีลมในระยะทาง 2 กิโลเมตร (โดยประมาณ) มีอาคารสำนักงานมากมายเป็นที่ตั้งของธนาคาร, บริษัท ห้างร้านต่างๆ โดยเฉพาะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพฯ อาคารซี พี ทาวเวอร์ และห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ซึ่งรวมบุคลากรต่างชาติ ที่นิยมดื่มกาแฟเป็นประจำด้วย ดังนั้นถนนสีลมจึงเป็นถนนสายที่น่าจะทดลองดำเนินการมากที่สุด

คู่แข่งทางการค้าบนถนนสีลม ตามที่ได้สำรวจมามีอยู่หลายแห่งเช่น

1. กลุ่มร้านอาหาร DELIFRANCE ซึ่งเป็นลักษณะ CAFÉ เล็กๆ หรือ ซุ้มผลิตภัณฑ์ NESTLE ซึ่งมีเครื่องดื่มประเภทกาแฟสำเร็จรูปจำหน่าย หรือแม้กระทั่งร้าน SEVEN – ELEVEN ก็มีผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำหน่ายซึ่งร้านค้าประเภทนี้ จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้บริโภค แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นร้านที่จำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป จึงไม่ใช่คู่แข่งที่สำค้ญของ บ้านไร่กาแฟ

2. กลุ่มที่ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงคือ STARBUCK, COFFEE WORLD ซึ่งมีเพียง 2 แห่ง ซึ่งร้าน STARBUCK ตั้งอยู่ในซอยคอนแวนต์ ส่วนร้าน COFFEE WORLD ตั้งอยู่ช่วงหัวถนนสีลม และอีกช่วงคือประมาณ 250 เมตร จึงจะเป็นอีกร้านหนึ่ง
จะเห็นว่ายังมีช่องว่างและโอกาสที่ บ้านไร่กาแฟ จะสอดแทรกเข้าไปได้อีกมาก บนถนนที่มีความยาว 2,000 เมตร บนสองฝั่งของทางเท้า เราสามารถจัดตั้งซุ้มกาแฟได้ไม่น้อยกว่า 10 ซุ้ม ซึ่งถ้าเปิดพร้อมๆ กัน จะสามารถเรียกความสนใจได้มากในการเปิดตัว บ้านไร่กาแฟ เข้ามาอยู่ตลาดในเมือง ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

แผนการผลิตและดำเนินการ

1. ในปี 2544 นับจากเดือน เมษายน – ธันวาคม 2544 อัตราการขยายตัวของสาขาจะเป็นลักษณะเป็นเคาน์เตอร์ในร้านปั๊ม JET 1 สาขาและลักษณะ Stand Alone 4 สาขาต่อเดือน โดยสาขาเป็น Stand Alone ค่าก่อสร้างสาขาละ 350,000
2. ดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องชงกาแฟครบชุดจำนวน 5 ชุดในทุกๆ เดือนโดยเฉลี่ยชุดละ 40,000 บาท
3. จัดเตรียมอบรมบุคลากรประมาณ 10 คนทุก ๆ เดือนเพื่อส่งไปประจำสาขาที่จะเปิดใหม่ และใช้ทดแทนในกรณีเกิดปัญหาการเปลี่ยนงานของพนักงานโดยมีทีมฝึกอบรมของบริษัทเอง
4. พนักงานใหม่ บริษัทฯจ้างในอัตราคนละ 250 ต่อคนต่อวัน
5. บริษัทต้องผลิตกาแฟขวด ซึ่งใช้ลดการเสียโอกาสอันเกิดจากการที่ลูกค้าต้องรอคอยโดยตั้งเป้าหมายให้สามารถขายได้ เดือนละ 150 ขวดต่อสาขา
6. บริษัทต้องสั่งซื้อวัตถุดิบทางตรง และทางอ้อม โดยรับเครดิต ดังนี้
เมล็ดกาแฟ ชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า
ชาโกโก้น้ำหวาน เครดิต 30 วัน
เครื่องปรุง เครดิต 30 วัน
ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เครดิต 30 วัน
7. ค่าเช่าพื้นที่ขาย และส่วนแบ่งประมาณ 3% ของยอดขาย
8. อัตราเงินเดือนของพนักงานบริหารเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี
9. การเพิ่มสาขา 1 สาขา จะต้องขายได้วันละ 65 แก้ว หรือ 1,950 แก้ว ต่อเดือน และจุดคุ้มทุนของการขยายสาขาใช้เวลา 6 เดือนจะถึงจุดคุ้มทุนหรือ 11,700 แก้ว
10. วัตถุดิบกาแฟ 250 กรัม ชงได้ 13 แก้ว หรือหนึ่งกิโลกรัม ชงได้ 52 แก้ว เฉลี่ยแก้วละ 55 บาท จะขายได้ประมาณ 2,860 บาท ต่อกิโลกรัมส่วนผสมอื่นๆ 8% ของยอดขาย วัสดุสิ้นเปลือง 8.5% ของยอดขาย วัตถุดิบประมาณ 4.18 ของยอดขาย
11. ค่าโทรศัพท์ประมาณ 3,000 บาท ต่อสาขาต่อเดือน มีค่าบริการเพจเจอร์ 450 บาท ค่าอุปกรณ์เพจเจอร์เครื่องละ 3,500 ต่อเครื่องต่อสาขา
12. พนักงานประจำสาขาประมาณ 2 คน ต่อสาขา
13. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน 1,500 บาท ต่อคนต่อ 7 วัน (โดยถือว่าพนักงานที่มาฝึกอบรมจะได้ค่าแรงวันละ 200 บาท โดยที่ไม่ได้ไปเป็นพนักงานขายจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (7x 200 + อื่นๆ 100 = 1,500)
14. ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสาขาละประมาณ 1,500 บาทต่อเดือนต่อสาขา
15. ยอดขายจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 5% ทุกเดือน
16. กิจการมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา 3% ของยอดขาย
17. ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 20,000 บาท/เดือน
18. ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย 1% ของยอดขาย
19. บริษัทสำรองวัตถุดิบคงเหลือดังนี้
เมล็ดกาแฟ 50% ของยอดใช้วัตถุดิบแต่ละเดือน
ส่วนผสมอื่นๆ 25% ของยอดใช้วัตถุดิบแต่ละเดือน
ภาชนะบรรจุภัณฑ์ 30% ของยอดใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์แต่ละเดือน
20. วัตถุดิบกาแฟราคาต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3% ในแต่ละปี

การบริหารงาน

1. มีหลักการบริหารแบบพี่น้องและมีการให้กำลังใจแก่พนักงานทุกคนด้วยค่าคอมมิชชั่นที่พอเพียง
2. ให้นโยบายสำหรับผู้จัดการเขต 3 อย่างคือ
1. จัดการและบริหารร้าน
2. ให้ความอบอุ่น และดูแลเอาใจใส่พนักงาน
3. สร้างให้พนักงานเกิดความรักตัวเองก่อนรักองค์กร เพื่อส่งผลให้ตัวพนักงานเกิดความรักในตัวองค์กรอยางแท้จริงต่อไป

ปัญหาและอุปสรรค

1. ด้านบุคลากร
เนื่องจากนโยบายหลักของร้าน คือ การสร้างทรัพยากรด้านบุคลากรขึ้นมาเอง โดยมิได้ตั้งเงื่อนไขทางด้านวุฒิการศึกษา อายุ เพศ สำหรับทุกตำแหน่งในร้าน ดังนั้นพนักงานจึงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ โดยทางบริษัทก็ได้มีการรับรองการพัฒนาฝีมือบุคลากรด้วยการจัดโปรแกรมฝึกอบรมเสริมทักษะความรู้ด้านการทำงานโดยเฉพาะ

2. ปัญหาด้านระบบการจัดการ
เนื่องด้วยเป็นการเริ่มทำธุรกิจเป็นครั้งแรก เรื่องระบบการจัดการต่างๆ ภายในจึงยังไม่ค่อยลงตัว เช่น ระบบการบัญชี ที่ไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง เช่น ภาษีต่างๆ หรืองานด้านสวัสดิการของพนักงานด้านประกันสังคม

3. ปัญหาของระบบแฟรนด์ไชส์

1. ความไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์ของผู้มาซื้อ เพราะเขาต้องการแตก Line ร้านกาแฟไปสู่เบียร์การ์เดนท์
2. ผู้บริการของแฟรนไชส์ไม่ต้องการทำตามกฎทุกข้อของบ้านไร่กาแฟ อาทิ เครื่องแต่งกายของพนักงาน การจัดรูปแบบร้าน เป็นต้น

แผนการตลาดของบ้านไร่กาแฟ

โฆษณา

ยังไม่เคยทำโฆษณาของตัวเองออกมา เพียงแต่ทำป้ายโฆษณาชื่อร้านที่ปั๊มน้ำมันเจ็ทที่มีร้านบ้านไร่อยู่ในปั๊มเท่านั้นแต่ในอนาคตคาดว่าจะทำขึ้นมาเพื่อสร้าง Brand Awareness ให้มากขึ้น

ประชาสัมพันธ์

ได้ทำการประชาสัมพันธ์ร้านบ้านไร่กาแฟผ่านทางอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.bkk.com/ เพียงช่องทางเดียว แต่คาดว่าจะพัฒนาสู่ช่องทางอื่นต่อไปในอนาคต
สำหรับการให้สัมภาษณ์ของ คุณสายชล เพยาว์น้อย ทางสื่อต่างๆ นั้นก็ได้ทำอย่างต่อเนื่องโดยการให้สัมภาษณ์มาแล้วหลายสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายการโทรทัศน์ และวิทยุ ซึ่งวิธีการนี้ก็ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านอีกทางหนึ่งเช่นกัน

การจัดการส่งเสริมการขาย

ยังไม่เคยจัดเป็นรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการขายของบ้านไร่เอง แต่ได้เคยจัดการส่งเสริมการขายร่วมกับปั๊มน้ำมัน JET โดยการมอบคูปองส่วนลดให้กับผู้ที่เติมน้ำมันที่ปั๊ม JET รวมทั้งยังได้มอบบัตรลดราคากาแฟในร้านบ้านไร่กาแฟเพื่อเป็นรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามใน http://www.bkk.com/ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดกิจกรรมนอกสถานที่

มีแนวคิดที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ให้คนทั่วไปรู้จักร้านบ้านไร่กาแฟมากขึ้น จึงได้จัดทำรถบ้านไร่กาแฟเคลื่อนที่เพื่อนำกาแฟของบ้านไร่กาแฟขายตามงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานเทศกาลของชมทุ่งดอกทานตะวันที่ จังหวัดลพบุรี, งานแสดงสีเสียง ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นต้น

แผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

มีโครงการจัดตั้งส่วนกาแฟขนาดใหญ่ เพื่อสร้างเป็นที่ชุมนุมของคนนิยมดื่มกาแฟขึ้น และสร้างเป็นสวนสนทนาในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้เปิดสวนกาแฟไปแล้ว 1 แห่ง คือ ส่วนกาแฟโรงโป๊ะ แต่ต่อไปจะสร้างให้เป็นสวนกาแฟขนาดใหญ่ ขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 สนามฟุตบอล

แผนการควบคุมและดำเนินการ

จากการจัดระบบในองค์กร ทำให้มองเห็นถึงจุดสำคัญอยู่ 2 จุด คือ แผนการฝึกอบรมพนักงาน และการควบคุมการรั่วไหลของระบบเงิน
แผนการฝึกอบรม
กิจการมีการจัดระบบการฝึกอบรมให้กับพนักงานให้มีมาตรฐานของการให้บริการที่มีรูปแบบและระดับมาตรฐานโดยจัดเชิญ วิทยากร จากภายนอกมาให้การอบรมพนักงาน เป็นประจำ

แผนการควบคุมระบบรั่วไหล

ควบคุมด้วย

1. การตรวจสต็อกของสินค้าและวัตถุดิบ

กิจการมีระบบการตรวจเช็ค ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุกาแฟ เช่น ถ้วยกาแฟ ควบคู่ไปกับปริมาณของวัตถุดิบกาแฟที่ใช้ ซึ่งทางฝ่ายจัดการได้มีสูตร และอัตราส่วนการผสมชงกาแฟต่อแก้วไว้แล้วการลดลงของกาแฟกับถ้วยกาแฟจะต้องสอดคล้องกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

2. การบริหาร

ด้วยการจัดระบบการบริหารเป็นเขตๆ แต่ละเขตดูแลร้านค้าที่เรียกว่า บ้าน ในสัดส่วน 1 เขตต่อ 6 บ้าน และหัวหน้าเขตจะต้องเป็นผู้ดูแลระบบบัญชีของแต่ละเขต ตรวจสอบการโอนเงินประสานงานกับของสำนักงานใหญ่ทุกวัน โดยมีระบบการสื่อสารแจ้งข่าวคราวผ่านทาง วิทยุตามตัว ซึ่งแต่ละสาขาจะ มีเครื่องข้อมูลการติดต่อประสานงานส่งถึงทุกสาขาพร้อมๆกัน

3. การควบคุมคุณภาพ

คุณภาพรสกาแฟมีความสำคัญจึงมีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ประจำเขต คอยดูแลคุณภาพของกาแฟ โดยไปเยี่ยมเยือนตามสาขาต่างๆ นอกจากฝ่ายตรวจสอบคุณภาพประจำเขตแล้ว ยังมีจากส่วนกลางจะออกสำรวจโดย ใช้แบบสอบถามเป็นระยะ ๆ

4. การควบคุมด้านการเงิน

ควบคุมโดยหัวหน้าเขตเนื่องจากมีหลายสาขาและกระจัดกระจายระบบการเงิน จึงได้วางระเบียบให้แต่ละสาขาโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทโดยตรง แล้วแจ้งให้หัวหน้าเขตของตนเองทราบ พร้อมสั่งสำเนาการโอนเงินให้หัวหน้าเขตเป็นหลักฐาน ส่วนของหัวหน้าเขต จะต้อง E-mail แจ้งให้สำนักงานกรุงเทพฯ ทราบยอดการโอนก่อน 11.00 น. เพื่อการตรวจสอบยอดการโอนเงินประจำวัน
ควบคุมโดยเครื่องบันทึกเงินสด
เครื่องบันทึกเงินสด จะเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งในการควบคุมระบบเงินสดเข้า และการทอนเงิน เพราะจะมีระบบการพิมพ์สลิปเงินสดทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ตลอดจนจะมีป้ายแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า “ให้ขอใบเสร็จจากเครื่องทุกครั้ง”

5. ควบคุมโดยลูกค้า

ให้ลูกค้าสามารถกรอกแบบแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น การบริการ คุณภาพของรสกาแฟ หรือความผิดสังเกตต่างๆ ที่พบเห็นในขณะนั้น โดยส่งตรงต่อสำนักงานกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ พร้อมกับจะมีรางวัล เล็กๆน้อยๆ สำหรับข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของบริษัทโดยจะเชิญให้มาเป็นเกียรติในการเลี้ยงฉลองประจำปีของบริษัท

DoiTunG Coffee

. "ให้ทำของเราให้ขายได้ เพราะของของเราดี ไม่ใช่ให้เขาซื้อเราหรือขายได้เพราะสงสารเรา เพราะเป็นมูลนิธิ"

แนวพระราชดำริของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่ให้ไว้เพื่อพัฒนาผลิตผลของชาวเขาไทยสู่สายตาชาวโลกด้วยความภาคภูมิใจและมีศักดิ์ศรีของคนดอยตุงโดยแท้

โดยมีจุดยืนพัฒนาสู่เศรษฐกิจเพื่อสังคม ซึ่งเน้นผลกำไรทางสังคมมากกว่าผลกำไรทางการเงิน ต้นทาง "Doi Tung" ตราสินค้าบ่งบอกที่มาจากบนดอย เริ่มเข้ามาทำความรู้จักกับคนพื้นราบเมื่อได้ไปเยือนดอยตุงในปี 2538 ด้วยการเปิดเป็นร้านกาแฟในชื่อ Doi Tung Coffee Corner ผลิตผลจากโรงคั่วกาแฟ 1 ในหลายโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้ปณิธานการดำเนินงานเพื่อมุ่ง "ช่วยเขาให้ช่วยตัวเอง" และเพื่อให้ "คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้" อย่างยั่งยืน

พัฒนาด้านการรับรู้ต่อเนื่องมากระทั่งเปิดให้บริการธุรกิจร้านกาแฟแบบครบวงจรภายใต้ชื่อ "Doi Tung Coffee" ที่กรุงเทพฯ ในปี 2545 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Cafe' Doi Tung มีสาขาดำเนินงานทั้งสิ้น 16 แห่ง และขยายเพิ่มอีก 5 แห่งในปี 2551



นอกเหนือจาก โรงงานคั่วกาแฟและโรงงานแปรรูปถั่วแมคคาเดเมีย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร แล้วผลผลิตของชาวเขาบนดอยตุงจากโรงฝึกอาชีพ โรงฝึกทำพรม โรงทอผ้า และโรงงานกระดาษสา ซึ่งได้กลายเป็นโรงงานผลิตสินค้าโดยชาวบ้านผู้ชำนาญการ ภายใต้ ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ ที่มีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศสและอิตาลี เป็นต้น

แต่ในด้านตราสินค้าแล้ว "ดอยตุง" สื่อถึงเฉพาะกาแฟ ขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่น คนส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ

เมล็ดผลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงหว่านได้เติบโตงดงามอย่างเป็นรูปธรรม จากแนวคิดเน้นการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอันเป็นต้นเหตุของการค้ายาเสพติดและการค้ามนุษย์อันนำมาซึ่งปัญหาสังคมอื่นๆ โดยมีปรัชญาสำคัญ คือ การสร้างคนที่ด้อยโอกาสให้เขาช่วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ชาวไทยภูเขามีอาชีพที่สร้างรายได้อย่างถาวรเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ทั้งยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้าน



กระทั่งในปี 2545 สำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office or Drugs and Crime :UNODC) ได้อนุมัติให้สินค้าจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ใช้ตราสัญญลักษณ์รับรองว่า มีส่วนช่วยเหลืออย่างโดดเด่นเพื่อให้สังคมพ้นจากปัญหายาเสพติด จึงเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำเร็จที่สุดของโลก

มูลนิธิมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้มา 7 ปี ปัจจุบันมีรายได้ 470 ล้านบาทมาจากผลิตภัณฑ์หัตถกรรม กาแฟ และท่องเที่ยวเป็นหลัก ภายใต้การดำเนินงาน 1,745 คน ส่วนใหญ่ประมาณ 1600 คนอยู่ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งครึ่งหนึ่งหรือ 800 คนเป็นคนในพื้นที่บนดอย

ตามจุดประสงค์หลักของโครงการฯ ซึ่งต้องการให้ชาวไทยภูเขาที่อาศัยบนดอยตุงสามารถปกครองตนเองและรับผิดชอบงานด้านบริหารของโครงการฯได้ภายในปี 2560 ก้าวต่อไป คือ ต้องทำให้ ตราสินค้า(Brand) เป็นอันเดียวกันให้ได้



การปรับกลยุทธ์ด้านธุรกิจด้วยการจัดกลุ่มธุรกิจและการกำหนดหลักการและโครงสร้างของแบรนด์ดอยตุงโดยเจ้าหน้าที่ของโครงการและชาวไทยภูเขาบนดอยตุง เป้าหมายเพื่อให้คนพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ด้านหนึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายที่สามารถการบริหารจัดการร่วมกันได้

ด้วยการสร้างตราสินค้า DoiTung ใน 5 สายธุรกิจ ประกอบด้วย สายธุรกิจการเกษตร ,สายธุรกิจอาหาร,สายธุรกิจแฟชั่นและเครื่องประดับ,สายธุรกิจของใช้ตกแต่งบ้าน และสายธุรกิจท่องเที่ยว ให้ชัดมากขึ้นจากที่คนส่วนใหญ่รู้จักร้านกาแฟในชื่อ ดอยตุง "DoiTung" ในชื่อใหม่เป็น Cafe' DoiTung เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์อื่นที่จะขยายตามมา อาทิ ชา เป็นต้น , สินค้าแฟชั่นเครื่องประดับและของใช้ตกแต่งบ้านใช้ชื่อ "DoiTung Lifestyle", ด้านท่องเที่ยว "DoiTung Lodge" สำหรับที่พักบนดอยตุงและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ และไร่แม่ฟ้าหลวง


เพื่อปูทางให้ชาวบ้านมาสืบทอดการดำเนินการได้เองในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าผู้บริหารปัจจุบันยังต้องดำเนินการอยู่ เท่ากับไม่สำเร็จ ต้องให้คนที่นั่นบริหารเอง และยังเติบโตได้ต่อไป"ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุงฯ
....

แผ่นพัฒนาแบรนด์'ดอยตุง'อย่างยั่งยืน

ในโอกาสครบรอบ 20 ปีที่สมเด็จย่าฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีได้เสด็จดอยตุงเป็นครั้งแรกและโครงการพัฒนาดอยตุงฯได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2530 ครบ 20 ปีพอดีคุณชายดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมถ์และ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุง ได้ปรับกลยุทธเปิดตัวแบรนด์ "ดอยตุง"ใหม่อย่างเป็นทางการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

เท่ากับเป็นการสต้าทแบรนด์ "ดอยตุง" สู่ตลาด อย่างเป็นทางการซึ่งจะประกอบด้วย
คาเฟ่ดอยตุง ซึ่งให้บริการเครือข่ายกาแฟและร้านอาหาร ดอยตุง ไลฟ์สไตล์ เป็นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องประดับของตกแต่งบ้านสินค้าแฟชั่น และส่วนของการผลิตภัณฑ์ดอยตุง ซึ่งต่อไปนี้จะใช้ คำว่าแม่ฟ้าหลวงต่อไป เปลี่ยนมาเป็น "ดอยตุง" แทน

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีการแบ่งสายธุรกิจออกเป็น 5 สายธุรกิจ ประกอบด้วย สายธุรกิจ การเกษตรที่มีทั้งการผลิตไม้ดอก ไม้ประดับ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบริการออกแบบ ตกแต่งสวน สายธุรกิจอาหารเช่น ถั่วแมคคาเดเมีย กาแฟร้าน คาเฟ่ ดอยตุง เป็นต้น สายธุรกิจแฟชั่นเครื่องประดับ เป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั้งในและต่างประเทศเป็นมีเอกลักษณ์โดดเด่น

สายธุรกิจของใช้ตกแต่งบ้าน เน้นการผลิตสินค้าหัตถกรรมคุณภาพสูงจากวัตถุดิบธรรมชาติ และสายธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งที่พักดอยตุงลอร์ด หอฝิ่น สามเหลี่ยมทองคำ และไร่แม้ฟ้าหลวง
ที่ใช้สำหรับการจัดงานเลี้ยงงานประชุมสำหรับตลาดไมซ์ เป็นต้น



ถ้าดูรายได้แต่ละปีของโครงการฯ มีตัวเลขประมาณ 400 กว่าล้านบาท มีกำไร สุทธิประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้ตั้งเป้าว่าทำยอดขายรายได้เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ทั้งนี้รายได้หลักมาจาก สินค้าด้านหัตถกรรมถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ท่องเที่ยว - กาแฟ –สินค้าแปรรูป- อีกแผนกละ 25 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือเป็นพวกดอกไม้ และทั่วไป เป็นต้น

ตลอด 20 ปีที่ผ่านแบรนด์ ดอยตุงยังไม่แข็งแกร่ง และเด่นชัด ค่อนข้างสับสน ในตัวสินค้าเพราะมีทั้งชื่อร้านแม่ฟ้าหลวง ใช้ชื่อ ดอยคุงบายด์แม่ฟ้าหลวง แต่ต่อไปนี้ ทุกอย่างจะชัดเจน ภายใต้ชื่อ แบรนด์ "ดอยตุง" ทั้งหมด ที่ผ่านมาแทบไม่มีการโฆษณา และ 7 ปีให้หลังมานี้ ผลประกอบการไม่ขาดทุน ทั้งโครงการมีพนักงานชาวไทยภูเขา 1,700 คนมีรายได้ประจำและมีเงินโบนัส โดย 1,200 คนเป็นคนในพื้นที่บนดอยตุงอีก 500 คนเป็นคนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ดอยตุง

ปัญหาประการหนึ่งที่คุณหญิง พวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการบริหารฯ บอกก็คือ ชาวบ้านที่ทำงานส่วนใหญ่อายุมาก 60-65 ปีทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ถือว่าพอใจ เพราะจะให้ร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนสาวโรงงานคงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ค่าใช้จ่ายทางด้านพนักงานสูง แต่ก็มีโครงการให้ชาวบ้านเช่ากาแฟไปปลูกและนำผลผลิตกลับมาขายในราคาที่เราการันตี ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสอนให้ชาวบ้านเรียนรู้ด้านการบริหารและเป็นเจ้าของธุรกิจไปในตัว

ดังนั้นการจัดกระบวนท่า และกลยุทธในการสร้างแบรนด์ครั้งนี้จึงมีความสำคัญไม่ใช่น้อยเพราะถ้าหากแบรนด์ "ดอยตุง" ติดลมบน สู้กับคู่แข่งขันนั่นก็หมายถึงยอดขาย รายได้ ผลผลิต

ที่จะตามในอนาคต การเปิดตัวในครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการปูทางวางรากฐานทางการตลาด

แบรนด์สินค้า "ดอยตุง" ให้มั่นคงและยั่งยืนตามปรัญชาของโครงการพัฒนาดอยตุงนั้นก็เพื่อสังคม เพื่อสร้างคน "พึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน" เมื่อสินค้าแจ้งเกิดก็หมายถึงปากท้องชาวบ้านด้วย
.
.

Wawee Coffee

.

คุณไกรสิทธิ์ ฟูสุวรรณ วัย 41 ปี ชาวจังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เคยทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน และงานบริษัทโฆษณาต่อมามีความสนใจธุรกิจร้านกาแฟ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากร้านกาแฟต่างประเทศ ที่สามารถเปิดสาขาได้ทั่วโลก จึงได้เริ่มต้นจากการเป็นนักชิมกาแฟ ศึกษาวิจัยปลูกกาแฟ การเก็บเมล็ดกาแฟ การคัดเลือก การคั่วและ การชงกาแฟ ที่ตำบลวาวี จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มีคุณภาพ และเป็นแหล่งที่คุณไกรสิทธิ์ เลือกเป็นแหล่งวัตถุดิบของร้านกาแฟวาวี



ปี พ.ศ.2544 ได้เริ่มเปิดร้านกาแฟเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน มิถุนายน ที่ปางช้างแม่สา อ.แม่ริม
จ.เชียงใหม่ ต่อมาเป็นเจ้าของปางช้าง ยกเลิกการให้เช่าพื้นที่ จึงตัดสินใจหาทำเลใหม่ ปี พ . ศ .2545 เมื่อเกิดความลงตัวในการดำเนินธุรกิจได้ทำเลที่เหมาะสม ย่าน ถนนนิมมานเหมินทร์ ซ.9 และตัดสินใจเริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ และที่นี่จึงเป็นร้านแรกของบริษัทกาแฟวาวี จำกัด จึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า

ปี พ.ศ.2546 มีแนวคิดเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโต และคิดจะขยายกิจการในรูปแบบขยายสาขาเอง และขายเฟรนไซส์ นอกจากนั้นยังสร้างโรงคั่วกาแฟ เพื่อจะควบคุมคุณภาพวัตถุดิบด้วยตนเอง และตัดสินใจเปิดสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ สาขาสุริวงศ์ บุ๊คเซ็นเตอร์



ปี 2547 ได้เปิดสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง ในบริเวณสถานวิชาการนานาชาติ (IC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปี 2548 ได้เปิดสาขาที่ 4 ฉลองครบรอบ 4 ปีกาแฟวาวีที่ ตลาดนัด เจเจ มาร์เก็ต ข้างโลตัสคำเที่ยง
จากการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง การบริการที่เอาใจใส่เสมอมา ทำให้ร้านกาแฟวาวีเป็นที่ รู้จักแบบปากต่อปากและนิยมของกาแฟ ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว มีปริมาณลูกค้า แวะเวียนมามากขึ้น จึงเป็นที่มาของสโลแกน “ความอร่อยที่เราให้ด้วยใจ”



ในปี พ.ศ.2549 และมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นอีก 5 แห่ง คือ สาขาสวนดอก, ,สาขาทวีชล, สาขานิมมานเหมินทร์ ซอย4 (พรอมมินาด), สาขาแม่ริม และสาขา (ชั่วคราว) ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ อีก 2 สาขา ในปลายปี พ.ศ.2549 เพิ่ม



อีก 4 สาขา คือ สาขาฮิมปิง, สาขาถนนราชดำเนิน และสาขาในต่างจังหวัดสาขาแรก คือ สาขาลำปาง
ปี 2550 ได้เปิดสาขาสนามบิน รวมทั้งสิ้นตอนนี้มีสาขาที่เปิดรวมทั้งหมด 12 สาขา และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 กาแฟวาวีได้ดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยวางแผนขยายสาขาในรูปแบบเฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคมเปิดสาขา สนามกอลฟ์ กองบิน 41 เดือนเมษายนเปิดสาขาละลายทรัพย์ กรุงเทพฯ เดือนมิถุนายน เปิด สาขาบิ๊กซี ลำพูน และในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาเปิดสาขารูม (หลังคาร์ฟูร์เชียงใหม่)และ สาขาลาปาซคันคลองชลประทานสนามกีฤา 700 ปี สาขาอารี กรุงเทพฯ และในปลายปี 2550 ได้เปิดอีก 4 สาขา ได้แก่ สาขารวมโชค, สาขาแม่โจ้, สาขาปางช้างแม่สา และสาขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาปา



ในปี 2551 กาแฟวาวียังขยายสาขาเพิ่มอีก โดยในเดือน มกราคม เปิด สาขาโตโยต้าบางบ่อ เดือนเมษายน สาขาเชียงราย เดือนพฤษภาคม สาขาสยามพารากอน เดือนกรกฎาคม เปิดที่ สาขาปันนา (ตรงนิมมานเหมินทร์ ซ.6) เดือนสิงหาคม เปิดที่ สาขาเดอ ฟรอ เรส แอด เย็นอากาศ ที่กรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ วันที่ 17 สิงหาคม 2551 เปิดสาขาที่ เซ็นทรัล แอร์พอร์ต พลาซ่า วันที่ 1 กันยายน 2551 เปิดที่ สาขาสมุย อยู่ตรงเกาะสมุย (หาดเฉวง) และอีก 1 สาขา ที่ยังจะทำการเปิดช่วงปลายปี สาขาปากช่อง และยังมีสาขาที่ทำการสำรวจพื้นที่อีก 4-5 สาขา ปัจจุบันกาแฟวาวี มีสาขาที่เปิดแล้วทั้งหมด 25 สาขา (รวมปากช่อง) อยู่ในตัวเชียงใหม่ 17 สาขา และที่ต่างจังหวัด 8 สาขา

กว่า 5 ปี ที่ร้านกาแฟวาวีได้เปิดกิจการขึ้นมา เราไม่หยุดพัฒนารสชาติและ การบริการให้ครอบคลุมเข้าสู่ทุกกลุ่มเป้าหมาย และยังคงก้าวต่อไปอย่างมั่นคงเพื่อให้กาแฟไทยเป็นที่นิยมในตลาดเมืองไทยที่กว้างขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจในรสชาติ ของกาแฟไทยที่ไม่เป็นรองกาแฟชาติไหนๆ พร้อมทั้งบริการที่เหมือนเป็นญาติมิตร ภายใต้บรรยากาศสบายๆ เหมือนเป็นบ้านท่านเอง เพื่อให้เข้ากับคำขวัญที่ว่า “ กาแฟวาวีความอร่อยที่เราให้ด้วยใจ”

ชื่อบริษัท : บริษัท กาแฟวาวี จำกัด
Brand Name : กาแฟวาวี
ที่อยู่สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 183/1 หมู่ที่ 6 ถนนวงแหวนรอบกลาง ตำบลฟ้ามฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-014111-2
โทรสาร : 053-852887
Website : www.wawee.co.th
E-mail : info@wawee.co.th
.
.

BLACK CANYON

.

บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2536 เพื่อประกอบกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “ แบล็คแคนยอน ” ธุรกิจของบริษัทฯ คือการเปิดบริการร้านกาแฟ และอาหารในศูนย์การค้าชั้นนำ ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการขยายสาขามีทั้งที่บริษัทบริหารเองและสาขาระบบ “ แฟรนไชส์ ” โดยทุกร้านจะ ตกแต่งสไตล์คันทรี่ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "กาแฟ" ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายประเภท รสชาติอร่อย เป็นกาแฟที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า “ มีคุณภาพเยี่ยม ” คัดเลือกจากกาแฟแท้ 100% จากสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของโลก

ร้าน “ แบล็คแคนยอน ” ยังมีอาหารมากมายหลายชนิดไว้บริการ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสไตล์ตะวันตก เช่น ซุป สลัด สเต็ก มักกะโรนี เฟรนช์ฟราย หรืออาหารยอดนิยมของชาวเอเชีย เช่น ข้าวผัด และก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ รวมทั้งอาหารตามสั่งขึ้นชื่อแบบไทย ๆ เช่น ต้มยำ ยำรสแซ่บ แหนม ฯลฯ “ แบล็คแคนยอน ” ได้ขยายสาขามาแล้วมากกว่า 40 แห่ง กระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ในแต่ละปี “ แบล็คแคนยอน ” เสริฟกาแฟกว่า 1 ล้านถ้วยให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติได้ลิ้มรสอันหอม เข้มข้น ผลิตภัณฑ์กาแฟ “ แบล็คแคนยอน ” ผ่านการตรวจสอบด้านคุณภาพและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลด้านการผลิตอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด จากผลิตภัณฑ์และกาแฟทุกชนิดของ “ แบล็คแคนยอน ”


ปัจจุบัน “ แบล็คแคนยอน ” ได้ขยายธุรกิจในรูปแบบระบบแฟรนไชส์ ไปอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็น “ แฟรนไชส์ร้านอาหาร และกาแฟ ” ที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ผู้บริหารและทีมงานทุกคนยังคงไว้ซึ่งความมุ่งมั่น ที่จะสร้าง ความเจริญ รุ่งเรืองให้กับ “ แบล็คแคนยอน ” และสัมพันธมิตรทางธุรกิจทุกรายต่อไป

นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ แบล็คแคนยอน แต่ก่อนที่เขาจะเป็นเจ้าของร้านกาแฟ ที่มีสาขามากที่สุดในวันนี้ เมื่อประมาณ 7 ปีก่อนประวิทย์ เคยมี “ ชา ” เป็นเครื่องดื่มถ้วยโปรด แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ธุรกิจหลักของเขาเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ กำลังอยู่ในช่วง ที่บูมสุดขีด ประวิทย์ก็เกิดมีความคิดอย่างที่หลายๆ คนชอบคิดก็คือ ต้องการมีร้านอาหารเครื่องดื่ม หรือร้านกาแฟเล็กๆ ตกแต่งดีๆ เป็นของตัวเองสักร้านหนึ่ง เพื่อเอาไว้พบปะสังสรรค์กับ เพื่อนฝูง และไว้รับรองลูกค้า

แบล็คแคนยอน เป็นร้านหนึ่ง ซึ่งเขาชอบเพราะติดใจในคำว่า “ แบล็คแคนยอน ” ซึ่งหมายถึงหุบเขาหรือดินแดนแห่งกาแฟ และชอบแนวความคิดในการตกแต่งร้าน ซึ่งเป็นสไตล์คันทรี่ คาวบอยตะวันตก
เริ่มแรกเขาต้องการเพียงซื้อแฟรนไชส์ เพื่อจะเปิดใหม่เพียง 1 สาขา แต่คุยไปคุยมากลายเป็นการซื้อกิจการมาทั้งหมด



“ คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเร็วมาก การดื่มกาแฟกลายเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของคนไทย แนวโน้มของร้านกาแฟจึงน่าจะไปได้ ” นั่นคือ สิ่งที่ประวิทย์คิด และมั่นใจพอ ที่จะเสี่ยงควักเงินก้อนใหญ่ ที่จะซื้อมา เพื่อพัฒนาสินค้าตัวนี้ต่อไป

การที่เริ่มทำธุรกิจ ที่ตนเองไม่เคยมีความรู้พื้นฐานมาเลยเป็นสิ่งที่เขาพบว่ายากมากๆ เพราะหลังจากคว้าปริญญาตรี และปริญญาโท มาจากคณะบริหารธุรกิจสาขาการตลาดจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโทอีกใบจากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อมวลชนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวิทย์ก็เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ที่ธนาคารเชส แมนฮัตตัน จากนั้น ก็เปลี่ยนไปรับตำแหน่งเป็นผู้จัดการแผนกคอมพิวเตอร์ ผู้จัดการแผนกสารสนเทศ เพื่อการบริหารบริษัทวอร์เนอร์-แลม เบิท (ประเทศไทย) จำกัด จนกระทั่งก้าวไปเป็นกรรมการบริหารของบริษัทดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด และเข้าไปเป็นเถ้าแก่เองอย่างเต็มตัวในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทโปรลายน์ ซึ่งมีบริษัทต่างๆ ในเครือประมาณ 8 บริษัท

ซึ่งทุกกิจการเป็นเรื่องเกี่ยวกับ IT ทั้งหมด ดังนั้น เริ่มแรกประวิทย์ก็ได้นำเอาบริษัทแบล็คแคนยอนไปสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมกาแฟ ที่อเมริกา เพื่อจะได้สิทธิในการฝึกอบรม รวมทั้งการซื้อหนังสือ วิดีโอ เอกสาร ในเรื่องเกี่ยวกับกาแฟมาศึกษา รวมทั้งเดินทางไปต่างประเทศ ซื้อตัวอย่างพันธุ์กาแฟต่างๆ มาทดลองปรุงเป็นสูตรต่างๆ ซึ่งก็มี เพื่อนๆ กลุ่มผู้บริหารจากบริษัทโปรลายน์เป็นคนทดลองชิม แต่กว่าจะได้รสชาติ ที่เป็นที่นิยม และเป็นที่ติดใจของคอกาแฟทั้งหลาย ก็เป็นเรื่อง ที่ยุ่งยากมากทำเอาเขาเกือบถอดใจจากธุรกิจนี้หลายครั้ง

“ ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งหนึ่งๆ ก็ได้เงินเป็นล้าน หรือขายซอฟต์แวร์ระบบหนึ่งก็เห็นเงินล้าน แต่นี่ต้องมาขายกาแฟแก้วละ 40 บาท กว่าจะได้กำไรสักแสนจะต้องขายกาแฟกี่หมื่นแก้วกันนี่ ก็เป็นเรื่องไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกหรือคิดผิดกันแน่ ”

แต่ด้วยความรัก ที่กลายเป็นความหลงในเรื่องของกาแฟไปแล้ว ประวิทย์จึงไม่ยอมแพ้ และในช่วง 4 ปีแรกนั้น เขาก็ได้ทุ่มเวลาให้ธุรกิจนี้อย่างเต็มที่ และการที่เขาเป็นนักคอมพิวเตอร์ก็ได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในเรื่องของการทำยอดขาย ทำบัญชีมีการศึกษาวิเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ


ในช่วงวิกฤติของเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาได้เป็นสิ่งที่ตัดสินว่าประวิทย์คิดถูก ที่ไม่ยอมถอดใจจากธุรกิจกาแฟ เพราะในขณะธุรกิจอื่นๆ ของเขาได้รับผลกระทบ ร้านแบล็คแคนยอนกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก และกลายเป็นธุรกิจ ที่มีกระแสเงินสดช่วยหล่อเลี้ยงบริษัทในเครืออื่นๆ บางแห่งด้วยซ้ำไป

เวลา ที่ผ่านไป 7 ปีได้กลายเป็นโอกาสในการสร้างชื่อสะสมพร้อมๆ กับคนดื่มกาแฟ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ก็หมายถึงการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์ดังในต่างประเทศเข้ามาหลายรายเหมือนกัน

“ ถ้าผมมีเงิน 50 ล้าน ณ วันนี้ แล้วมาสร้างร้านกาแฟใหม่ ผมไม่เอาแน่ เพราะอาจจะไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ เพราะการมาสร้างแบรนด์ใหม่ให้ติดตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกัน ”

ทุกวันนี้หากมีเวลาว่างประวิทย์จะมีความสุขอย่างมาก ที่จะได้ขับรถขึ้นไปบนดอยต่างๆ ทางเหนือ เพื่อตะลุยไปยังแหล่งผลิตกาแฟจริงๆ และถือโอกาสไปชื่นชมทิวทัศน์ และบรรยากาศของภูเขา ที่เขาบอกว่าถ้าให้เลือกระหว่างเที่ยวทะเลกับภูเขา เขาจะเลือกเที่ยวภูเขามากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูเขาเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทำให้การขึ้นไปเที่ยวเล่นบนดอยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่การเที่ยวเล่นวันนั้น กับวันนี้ต่างกัน

เมื่อวันวานอาจจะ เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่วันนี้เป็นเรื่อง ที่เขาจะต้องคอยคิดเหมือนกันว่าสิ่งที่พบเห็นนั้น จะมีอะไรบ้าง ที่เอามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจร้านกาแฟ



แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ “ แบล็คแคนยอน” ร้านกาแฟแบรนด์ไทย ณ วันนี้ ได้สยายปีกโกอินเตอร์ดังกระหึ่ม ชนิดที่ว่าในบางประเทศสามารถล้มยักษ์ร้านกาแฟบิ๊กบึ้มระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” จากสหรัฐฯได้ขาดลอย ล่าสุด เพื่อเป็นการยืนยันศักยภาพที่คับปั๊งของแบล็คแคนยอน คณะผู้บริหารของบริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด นำโดยนายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้พาคณะสื่อมวลชนไทยเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเบิ่งชมความรุดหน้าของร้านแบล็คแคนยอน เพราะเพียงแค่ 2 ปี ที่เข้ามาทำธุรกิจ ได้มีสาขาครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียถึง 12 สาขา และเตรียมแผนเปิดเพิ่มอีก 12 สาขา ในอีก 1 ปีข้างหน้า

“ เฉพาะที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถโค่นแชมป์กาแฟสัญชาติอเมริกันอย่างสตาร์บัคส์เสียราบคาบ เราเป็นที่หนึ่งในตลาดร้านกาแฟอินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องจำนวนสาขาและยอดขาย เนื่องจากผู้บริโภคชาวอินโด นีเซียชื่นชอบในรสชาติกาแฟไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพ ”

ในตลาดต่างประเทศที่บริษัทเน้นการขยายสาขาในรูปของมาสเตอร์ แฟรนไชส์ (Master Franchise) เพราะเชื่อว่าสามารถขยายตลาดได้เร็วกว่าการลงทุนเปิดสาขาเอง นโยบายของบริษัทต้องการเป็นผู้ประกอบการร้านกาแฟและอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขณะเดียวกันยังตั้งใจจะนำอาหารไทยไปบุกตลาดโลก เราไม่ได้มุ่งที่จะยิ่งใหญ่ในอินโดนีเซียประเทศเดียว แต่วันนี้ ถือว่าตลาดอินโดนีเซีย เป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จที่สุด มีสาขามากสุด เพียงแค่ 2 ปี ที่รุกตลาดสามารถขยายสาขาได้มากถึง 12 สาขา ที่กรุงจาการ์ตา 1 สาขา บันดุง 1 สาขา เซอมารัง 1 สาขา ย็อกยาการ์ตา 1 สาขา สุราบายา 1 สาขา บาหลี 3 สาขา มักกะซาร์ 2 สาขา และมานาโด 1 สาขา ทั้งนี้ ในอีก 12 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 12 สาขา รวมเป็น 24 สาขา ใช้เงินลงทุนสาขาละ 6 ล้านบาท สำหรับจุดคืนทุนต่อสาขาถึงประมาณ 1-2 ปี ซึ่งถือว่าเร็วมาก

ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 3 สาขา สิงคโปร์อีก 1 สาขา ดูไบ 2 สาขา ส่วนตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต และคาดว่าจะ


สำหรับการทำธุรกิจในไทย แบล็คแคนยอนยังคงขยายธุรกิจ ต่อไปเต็มสูบ แม้ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกจะยังไม่นิ่ง แต่ เชื่อว่าธุรกิจร้านกาแฟยังมีโอกาสเติบโตสูง และไม่ได้อยู่ในช่วงขาลง ดูได้จากการลุยขยายสาขาธุรกิจร้านกาแฟทั้งรายใหญ่รายเล็ก รวมถึงร้านข้างถนนในไทยยังมีต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีจำนวนรวมกันมากกว่า 4,000-5,000 แห่ง ขณะที่ในตลาดต่างประเทศก็เปิดประตูรับการขยายสาขาของร้านกาแฟจากทั่วโลก รวมถึงร้านกาแฟแบรนด์ไทย

“ อย่างไรก็ตาม ในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการที่มีความแข็ง แกร่งแข็งแรงเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ในส่วนของบริษัทในฐานะที่เป็นแบรนด์ไทย ณ วันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด แม้ตลาดในประเทศที่ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 180 สาขา และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 190 สาขา ในสิ้นปีนี้ เป็นสาขาแฟรนไชส์ 45% บริษัทลงทุนเอง 55% แต่เรายังไม่สามารถโค่นแชมป์อย่างสตาร์บัคส์ได้ ทั้งที่คุณภาพ ราคา และการบริการแข่งขันได้สบายๆ ”

อย่างไรก็ดีในภาวะเศรษฐกิจที่อึมครึมอย่างนี้ เชื่อว่าจะยิ่งเป็นโอกาสทองของร้านแบล็คแคนยอน เพราะผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟราคาแพงจะหันมาดื่มกาแฟแบล็คแคนยอนกันมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ขณะที่คุณภาพยังใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการอาหารและเบเกอรี่ด้วย ทั้งยังได้อานิสงส์จากการที่คู่แข่งมีปัญหาในต่างประเทศ ขณะที่สาขาในประเทศไทยบางแห่งก็เริ่มมีปัญหา ประกอบกับการแข่งขันในธุรกิจร้านกาแฟลดลง ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านกาแฟข้างถนน ร้านกาแฟขนาดเล็ก ขนาดกลาง และร้านกาแฟพรีเมียมขนาดใหญ่แบ่งกันชัดเจนขึ้น โดยในส่วนของแบล็คแคนยอนมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ที่ระดับ A-ถึง B+ “ปีนี้จะรุกทำตลาดเข้มข้น ด้วยการอัดรายการโปรโมชั่นทุกๆ 2 เดือนต่อครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศปีนี้ให้มากกว่าปีที่แล้วถึง 15% โดยปีที่แล้วทำได้ 1,200 ล้าน

บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
2991/8 อาคารวิสุทธานี ไฮเทค ออฟฟิศ ปาร์ค ถนนลาดพร้าว ซอย 101/3 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ
.
.