บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2536 เพื่อประกอบกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า “ แบล็คแคนยอน ” ธุรกิจของบริษัทฯ คือการเปิดบริการร้านกาแฟ และอาหารในศูนย์การค้าชั้นนำ ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการขยายสาขามีทั้งที่บริษัทบริหารเองและสาขาระบบ “ แฟรนไชส์ ” โดยทุกร้านจะ ตกแต่งสไตล์คันทรี่ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "กาแฟ" ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายประเภท รสชาติอร่อย เป็นกาแฟที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า “ มีคุณภาพเยี่ยม ” คัดเลือกจากกาแฟแท้ 100% จากสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของโลก
ร้าน “ แบล็คแคนยอน ” ยังมีอาหารมากมายหลายชนิดไว้บริการ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสไตล์ตะวันตก เช่น ซุป สลัด สเต็ก มักกะโรนี เฟรนช์ฟราย หรืออาหารยอดนิยมของชาวเอเชีย เช่น ข้าวผัด และก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ รวมทั้งอาหารตามสั่งขึ้นชื่อแบบไทย ๆ เช่น ต้มยำ ยำรสแซ่บ แหนม ฯลฯ “ แบล็คแคนยอน ” ได้ขยายสาขามาแล้วมากกว่า 40 แห่ง กระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ในแต่ละปี “ แบล็คแคนยอน ” เสริฟกาแฟกว่า 1 ล้านถ้วยให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติได้ลิ้มรสอันหอม เข้มข้น ผลิตภัณฑ์กาแฟ “ แบล็คแคนยอน ” ผ่านการตรวจสอบด้านคุณภาพและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลด้านการผลิตอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด จากผลิตภัณฑ์และกาแฟทุกชนิดของ “ แบล็คแคนยอน ”
ปัจจุบัน “ แบล็คแคนยอน ” ได้ขยายธุรกิจในรูปแบบระบบแฟรนไชส์ ไปอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็น “ แฟรนไชส์ร้านอาหาร และกาแฟ ” ที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ผู้บริหารและทีมงานทุกคนยังคงไว้ซึ่งความมุ่งมั่น ที่จะสร้าง ความเจริญ รุ่งเรืองให้กับ “ แบล็คแคนยอน ” และสัมพันธมิตรทางธุรกิจทุกรายต่อไป
นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ แบล็คแคนยอน แต่ก่อนที่เขาจะเป็นเจ้าของร้านกาแฟ ที่มีสาขามากที่สุดในวันนี้ เมื่อประมาณ 7 ปีก่อนประวิทย์ เคยมี “ ชา ” เป็นเครื่องดื่มถ้วยโปรด แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ธุรกิจหลักของเขาเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ กำลังอยู่ในช่วง ที่บูมสุดขีด ประวิทย์ก็เกิดมีความคิดอย่างที่หลายๆ คนชอบคิดก็คือ ต้องการมีร้านอาหารเครื่องดื่ม หรือร้านกาแฟเล็กๆ ตกแต่งดีๆ เป็นของตัวเองสักร้านหนึ่ง เพื่อเอาไว้พบปะสังสรรค์กับ เพื่อนฝูง และไว้รับรองลูกค้า
แบล็คแคนยอน เป็นร้านหนึ่ง ซึ่งเขาชอบเพราะติดใจในคำว่า “ แบล็คแคนยอน ” ซึ่งหมายถึงหุบเขาหรือดินแดนแห่งกาแฟ และชอบแนวความคิดในการตกแต่งร้าน ซึ่งเป็นสไตล์คันทรี่ คาวบอยตะวันตก
เริ่มแรกเขาต้องการเพียงซื้อแฟรนไชส์ เพื่อจะเปิดใหม่เพียง 1 สาขา แต่คุยไปคุยมากลายเป็นการซื้อกิจการมาทั้งหมด
นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ แบล็คแคนยอน แต่ก่อนที่เขาจะเป็นเจ้าของร้านกาแฟ ที่มีสาขามากที่สุดในวันนี้ เมื่อประมาณ 7 ปีก่อนประวิทย์ เคยมี “ ชา ” เป็นเครื่องดื่มถ้วยโปรด แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ธุรกิจหลักของเขาเกี่ยวกับการขายอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ กำลังอยู่ในช่วง ที่บูมสุดขีด ประวิทย์ก็เกิดมีความคิดอย่างที่หลายๆ คนชอบคิดก็คือ ต้องการมีร้านอาหารเครื่องดื่ม หรือร้านกาแฟเล็กๆ ตกแต่งดีๆ เป็นของตัวเองสักร้านหนึ่ง เพื่อเอาไว้พบปะสังสรรค์กับ เพื่อนฝูง และไว้รับรองลูกค้า
แบล็คแคนยอน เป็นร้านหนึ่ง ซึ่งเขาชอบเพราะติดใจในคำว่า “ แบล็คแคนยอน ” ซึ่งหมายถึงหุบเขาหรือดินแดนแห่งกาแฟ และชอบแนวความคิดในการตกแต่งร้าน ซึ่งเป็นสไตล์คันทรี่ คาวบอยตะวันตก
เริ่มแรกเขาต้องการเพียงซื้อแฟรนไชส์ เพื่อจะเปิดใหม่เพียง 1 สาขา แต่คุยไปคุยมากลายเป็นการซื้อกิจการมาทั้งหมด
“ คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเร็วมาก การดื่มกาแฟกลายเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของคนไทย แนวโน้มของร้านกาแฟจึงน่าจะไปได้ ” นั่นคือ สิ่งที่ประวิทย์คิด และมั่นใจพอ ที่จะเสี่ยงควักเงินก้อนใหญ่ ที่จะซื้อมา เพื่อพัฒนาสินค้าตัวนี้ต่อไป
การที่เริ่มทำธุรกิจ ที่ตนเองไม่เคยมีความรู้พื้นฐานมาเลยเป็นสิ่งที่เขาพบว่ายากมากๆ เพราะหลังจากคว้าปริญญาตรี และปริญญาโท มาจากคณะบริหารธุรกิจสาขาการตลาดจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโทอีกใบจากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อมวลชนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวิทย์ก็เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ที่ธนาคารเชส แมนฮัตตัน จากนั้น ก็เปลี่ยนไปรับตำแหน่งเป็นผู้จัดการแผนกคอมพิวเตอร์ ผู้จัดการแผนกสารสนเทศ เพื่อการบริหารบริษัทวอร์เนอร์-แลม เบิท (ประเทศไทย) จำกัด จนกระทั่งก้าวไปเป็นกรรมการบริหารของบริษัทดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด และเข้าไปเป็นเถ้าแก่เองอย่างเต็มตัวในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทโปรลายน์ ซึ่งมีบริษัทต่างๆ ในเครือประมาณ 8 บริษัท
ซึ่งทุกกิจการเป็นเรื่องเกี่ยวกับ IT ทั้งหมด ดังนั้น เริ่มแรกประวิทย์ก็ได้นำเอาบริษัทแบล็คแคนยอนไปสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมกาแฟ ที่อเมริกา เพื่อจะได้สิทธิในการฝึกอบรม รวมทั้งการซื้อหนังสือ วิดีโอ เอกสาร ในเรื่องเกี่ยวกับกาแฟมาศึกษา รวมทั้งเดินทางไปต่างประเทศ ซื้อตัวอย่างพันธุ์กาแฟต่างๆ มาทดลองปรุงเป็นสูตรต่างๆ ซึ่งก็มี เพื่อนๆ กลุ่มผู้บริหารจากบริษัทโปรลายน์เป็นคนทดลองชิม แต่กว่าจะได้รสชาติ ที่เป็นที่นิยม และเป็นที่ติดใจของคอกาแฟทั้งหลาย ก็เป็นเรื่อง ที่ยุ่งยากมากทำเอาเขาเกือบถอดใจจากธุรกิจนี้หลายครั้ง
“ ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งหนึ่งๆ ก็ได้เงินเป็นล้าน หรือขายซอฟต์แวร์ระบบหนึ่งก็เห็นเงินล้าน แต่นี่ต้องมาขายกาแฟแก้วละ 40 บาท กว่าจะได้กำไรสักแสนจะต้องขายกาแฟกี่หมื่นแก้วกันนี่ ก็เป็นเรื่องไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกหรือคิดผิดกันแน่ ”
แต่ด้วยความรัก ที่กลายเป็นความหลงในเรื่องของกาแฟไปแล้ว ประวิทย์จึงไม่ยอมแพ้ และในช่วง 4 ปีแรกนั้น เขาก็ได้ทุ่มเวลาให้ธุรกิจนี้อย่างเต็มที่ และการที่เขาเป็นนักคอมพิวเตอร์ก็ได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในเรื่องของการทำยอดขาย ทำบัญชีมีการศึกษาวิเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ในช่วงวิกฤติของเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาได้เป็นสิ่งที่ตัดสินว่าประวิทย์คิดถูก ที่ไม่ยอมถอดใจจากธุรกิจกาแฟ เพราะในขณะธุรกิจอื่นๆ ของเขาได้รับผลกระทบ ร้านแบล็คแคนยอนกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก และกลายเป็นธุรกิจ ที่มีกระแสเงินสดช่วยหล่อเลี้ยงบริษัทในเครืออื่นๆ บางแห่งด้วยซ้ำไป
เวลา ที่ผ่านไป 7 ปีได้กลายเป็นโอกาสในการสร้างชื่อสะสมพร้อมๆ กับคนดื่มกาแฟ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ก็หมายถึงการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์ดังในต่างประเทศเข้ามาหลายรายเหมือนกัน
“ ถ้าผมมีเงิน 50 ล้าน ณ วันนี้ แล้วมาสร้างร้านกาแฟใหม่ ผมไม่เอาแน่ เพราะอาจจะไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นได้ เพราะการมาสร้างแบรนด์ใหม่ให้ติดตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกัน ”
ทุกวันนี้หากมีเวลาว่างประวิทย์จะมีความสุขอย่างมาก ที่จะได้ขับรถขึ้นไปบนดอยต่างๆ ทางเหนือ เพื่อตะลุยไปยังแหล่งผลิตกาแฟจริงๆ และถือโอกาสไปชื่นชมทิวทัศน์ และบรรยากาศของภูเขา ที่เขาบอกว่าถ้าให้เลือกระหว่างเที่ยวทะเลกับภูเขา เขาจะเลือกเที่ยวภูเขามากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูเขาเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทำให้การขึ้นไปเที่ยวเล่นบนดอยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่การเที่ยวเล่นวันนั้น กับวันนี้ต่างกัน
เมื่อวันวานอาจจะ เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่วันนี้เป็นเรื่อง ที่เขาจะต้องคอยคิดเหมือนกันว่าสิ่งที่พบเห็นนั้น จะมีอะไรบ้าง ที่เอามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจร้านกาแฟ
แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ “ แบล็คแคนยอน” ร้านกาแฟแบรนด์ไทย ณ วันนี้ ได้สยายปีกโกอินเตอร์ดังกระหึ่ม ชนิดที่ว่าในบางประเทศสามารถล้มยักษ์ร้านกาแฟบิ๊กบึ้มระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” จากสหรัฐฯได้ขาดลอย ล่าสุด เพื่อเป็นการยืนยันศักยภาพที่คับปั๊งของแบล็คแคนยอน คณะผู้บริหารของบริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด นำโดยนายประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้พาคณะสื่อมวลชนไทยเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเบิ่งชมความรุดหน้าของร้านแบล็คแคนยอน เพราะเพียงแค่ 2 ปี ที่เข้ามาทำธุรกิจ ได้มีสาขาครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียถึง 12 สาขา และเตรียมแผนเปิดเพิ่มอีก 12 สาขา ในอีก 1 ปีข้างหน้า
“ เฉพาะที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถโค่นแชมป์กาแฟสัญชาติอเมริกันอย่างสตาร์บัคส์เสียราบคาบ เราเป็นที่หนึ่งในตลาดร้านกาแฟอินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องจำนวนสาขาและยอดขาย เนื่องจากผู้บริโภคชาวอินโด นีเซียชื่นชอบในรสชาติกาแฟไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพ ”
ในตลาดต่างประเทศที่บริษัทเน้นการขยายสาขาในรูปของมาสเตอร์ แฟรนไชส์ (Master Franchise) เพราะเชื่อว่าสามารถขยายตลาดได้เร็วกว่าการลงทุนเปิดสาขาเอง นโยบายของบริษัทต้องการเป็นผู้ประกอบการร้านกาแฟและอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขณะเดียวกันยังตั้งใจจะนำอาหารไทยไปบุกตลาดโลก เราไม่ได้มุ่งที่จะยิ่งใหญ่ในอินโดนีเซียประเทศเดียว แต่วันนี้ ถือว่าตลาดอินโดนีเซีย เป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จที่สุด มีสาขามากสุด เพียงแค่ 2 ปี ที่รุกตลาดสามารถขยายสาขาได้มากถึง 12 สาขา ที่กรุงจาการ์ตา 1 สาขา บันดุง 1 สาขา เซอมารัง 1 สาขา ย็อกยาการ์ตา 1 สาขา สุราบายา 1 สาขา บาหลี 3 สาขา มักกะซาร์ 2 สาขา และมานาโด 1 สาขา ทั้งนี้ ในอีก 12 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 12 สาขา รวมเป็น 24 สาขา ใช้เงินลงทุนสาขาละ 6 ล้านบาท สำหรับจุดคืนทุนต่อสาขาถึงประมาณ 1-2 ปี ซึ่งถือว่าเร็วมาก
“ เฉพาะที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถโค่นแชมป์กาแฟสัญชาติอเมริกันอย่างสตาร์บัคส์เสียราบคาบ เราเป็นที่หนึ่งในตลาดร้านกาแฟอินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องจำนวนสาขาและยอดขาย เนื่องจากผู้บริโภคชาวอินโด นีเซียชื่นชอบในรสชาติกาแฟไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพ ”
ในตลาดต่างประเทศที่บริษัทเน้นการขยายสาขาในรูปของมาสเตอร์ แฟรนไชส์ (Master Franchise) เพราะเชื่อว่าสามารถขยายตลาดได้เร็วกว่าการลงทุนเปิดสาขาเอง นโยบายของบริษัทต้องการเป็นผู้ประกอบการร้านกาแฟและอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขณะเดียวกันยังตั้งใจจะนำอาหารไทยไปบุกตลาดโลก เราไม่ได้มุ่งที่จะยิ่งใหญ่ในอินโดนีเซียประเทศเดียว แต่วันนี้ ถือว่าตลาดอินโดนีเซีย เป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จที่สุด มีสาขามากสุด เพียงแค่ 2 ปี ที่รุกตลาดสามารถขยายสาขาได้มากถึง 12 สาขา ที่กรุงจาการ์ตา 1 สาขา บันดุง 1 สาขา เซอมารัง 1 สาขา ย็อกยาการ์ตา 1 สาขา สุราบายา 1 สาขา บาหลี 3 สาขา มักกะซาร์ 2 สาขา และมานาโด 1 สาขา ทั้งนี้ ในอีก 12 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 12 สาขา รวมเป็น 24 สาขา ใช้เงินลงทุนสาขาละ 6 ล้านบาท สำหรับจุดคืนทุนต่อสาขาถึงประมาณ 1-2 ปี ซึ่งถือว่าเร็วมาก
ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 3 สาขา สิงคโปร์อีก 1 สาขา ดูไบ 2 สาขา ส่วนตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต และคาดว่าจะ
สำหรับการทำธุรกิจในไทย แบล็คแคนยอนยังคงขยายธุรกิจ ต่อไปเต็มสูบ แม้ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกจะยังไม่นิ่ง แต่ เชื่อว่าธุรกิจร้านกาแฟยังมีโอกาสเติบโตสูง และไม่ได้อยู่ในช่วงขาลง ดูได้จากการลุยขยายสาขาธุรกิจร้านกาแฟทั้งรายใหญ่รายเล็ก รวมถึงร้านข้างถนนในไทยยังมีต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีจำนวนรวมกันมากกว่า 4,000-5,000 แห่ง ขณะที่ในตลาดต่างประเทศก็เปิดประตูรับการขยายสาขาของร้านกาแฟจากทั่วโลก รวมถึงร้านกาแฟแบรนด์ไทย
“ อย่างไรก็ตาม ในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการที่มีความแข็ง แกร่งแข็งแรงเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ในส่วนของบริษัทในฐานะที่เป็นแบรนด์ไทย ณ วันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด แม้ตลาดในประเทศที่ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 180 สาขา และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 190 สาขา ในสิ้นปีนี้ เป็นสาขาแฟรนไชส์ 45% บริษัทลงทุนเอง 55% แต่เรายังไม่สามารถโค่นแชมป์อย่างสตาร์บัคส์ได้ ทั้งที่คุณภาพ ราคา และการบริการแข่งขันได้สบายๆ ”
อย่างไรก็ดีในภาวะเศรษฐกิจที่อึมครึมอย่างนี้ เชื่อว่าจะยิ่งเป็นโอกาสทองของร้านแบล็คแคนยอน เพราะผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟราคาแพงจะหันมาดื่มกาแฟแบล็คแคนยอนกันมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ขณะที่คุณภาพยังใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการอาหารและเบเกอรี่ด้วย ทั้งยังได้อานิสงส์จากการที่คู่แข่งมีปัญหาในต่างประเทศ ขณะที่สาขาในประเทศไทยบางแห่งก็เริ่มมีปัญหา ประกอบกับการแข่งขันในธุรกิจร้านกาแฟลดลง ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านกาแฟข้างถนน ร้านกาแฟขนาดเล็ก ขนาดกลาง และร้านกาแฟพรีเมียมขนาดใหญ่แบ่งกันชัดเจนขึ้น โดยในส่วนของแบล็คแคนยอนมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ที่ระดับ A-ถึง B+ “ปีนี้จะรุกทำตลาดเข้มข้น ด้วยการอัดรายการโปรโมชั่นทุกๆ 2 เดือนต่อครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศปีนี้ให้มากกว่าปีที่แล้วถึง 15% โดยปีที่แล้วทำได้ 1,200 ล้าน
บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
2991/8 อาคารวิสุทธานี ไฮเทค ออฟฟิศ ปาร์ค ถนนลาดพร้าว ซอย 101/3 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ
2991/8 อาคารวิสุทธานี ไฮเทค ออฟฟิศ ปาร์ค ถนนลาดพร้าว ซอย 101/3 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ
.
.
1 ความคิดเห็น:
ผู้บริหารที่โปรไลน์แย่มากครับ ไปพบไม่ยอมลงมาพบ
แสดงความคิดเห็น