วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

BONCAFE'




....
บอนกาแฟ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทไทย-สวิส ผู้ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ ชนิดเม็ดและบด รวมถึงเป็นผู้ผลิต เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป หลากชนิด

วัตถุดิบที่ใช้เกือบทั้งหมดเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล ผงผลไม้ต่างๆสำหรับผสมในเครื่องดื่มผง และเมล็ดกาแฟพันธุ์อราบิก้าและโรบัสต้าสำหรับ กาแฟคั่ว ชนิดเม็ดและ บด แบบต่างๆ



สินค้าส่วนใหญ่ในแต่ละปีที่ บอนกาแฟ (ประเทศไทย) ผลิตได้เป็นการส่งออกนอกประเทศ ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปและตะวันออกกลาง

สำหรับการจำหน่ายในประเทศไทยนั้น ทางบริษัทมีการนำเข้า จำหน่าย และให้บริการทั้ง เครื่องทำกาแฟ จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี และ สหรัฐอเมริกา

บริษัท บอนกาแฟ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เป็นตัวแทนและร่วมรักษาปรัชญา แนวความคิดหลัก ของ บริษัท บอนกาแฟ อินเตอร์เนชั่นแนล พีทีอี (1962) ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นโรงงานคั่วกาแฟรายใหญ่ และ มีสำนักงานในหลายประเทศในแถบทวีปเอเชีย และ สวิสเซอร์แลนด์

ข้อได้เปรียบหลักของ บอนกาแฟ คือ การนำเสนอรูปแบบที่ครบวงจรสำหรับ เครื่องชงกาแฟ การให้บริการหลังการขาย และ กาแฟคุณภาพเยี่ยม ในชนิดและรูปแบบที่หลากหลาย สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาทิเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านฟาสฟู๊ด คลับ สนามกอล์ฟและตามโรงอาหารของบริษัททั่วไป เรามีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่มีโรงงานผลิตที่ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายและให้บริการ ในจังหวัดใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทยเพื่อสนองการบริการให้กับลูกค้าของเราได้เต็มที่



ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เปิดสาขาใหม่ในประเทศกัมพูชา ลาว และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรสต์เมืองดูไบ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างบอนกาแฟ (ประเทศไทย) กับนักลงทุนในพื้นที่

การคลุกคลีอยู่ในวงการธุรกิจกาแฟสดมานานสิบกว่าปีในฐานะซัพพลายเออร์ธุรกิจร้านกาแฟสด มาลีรัตน์ ธนาประชุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอนกาแฟ (ประเทศไทย) จำกัด ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มองว่าการที่สตาร์บัคส์เข้ามาในไทยเป็นจุดระเบิดของกระแสกาแฟสดที่แท้จริงในไทย แม้ว่าขณะนั้นจะมีแบรนด์ร้านกาแฟเกิดขึ้นในตลาดแล้วก็ตาม แต่หลังจากนั้นทั้งคนดื่มและคนขายกาแฟสดก็ถาโถมเข้าสู่กระแสจนเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่คนสนใจลงทุนมากที่สุดติดต่อกันหลายปี จนถึงทุกวันนี้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบอนกาแฟในขณะนั้น มาลีรัตน์ บอกว่าได้ปัจจัยเสริมจากการ Lay off พนักงานของบริษัทเอกชน และโครงการ Early Retire ของภาครัฐ เงินค่าตอบแทนจากคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมาตกอยู่ที่ธุรกิจร้านกาแฟสด

“ช่วงนั้นบอนกาแฟมีตลาดหลักในประเทศอยู่ที่กลุ่ม Food Service คือโรงแรม และกลุ่มรีเทล พวกห้างสรรพสินค้า รายย่อยที่เป็นร้านกาแฟตอนนั้นยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก แต่หลังจากสตาร์บัคส์เข้ามาและเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ยอดขายของเราจากกลุ่มผู้ที่ต้องการเปิดร้านกาแฟกระโดดขึ้นไปเป็น 100% ถือว่าเติบโตสูงมาก”

ผลพวงที่พ่วงต่อจากนั้นคือการขยับจากผู้ขาย ขยายสู่ภาคบริการด้วยการให้คำแนะนำปรึกษาการเปิดธุรกิจร้านกาแฟสดกับนักลงทุนมือใหม่อย่างครบวงจร และวางตำแหน่งตัวเองเป็น Coffee Solution ทุกเรื่องเกี่ยวกับกาแฟบอนกาแฟมีให้ครบวงจร ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ช่วงนั้นเองที่บอนกาแฟเริ่มสร้าง Trainer หรืออาจารย์สอนศิลปะการชงกาแฟรองรับผู้เรียนที่กำลังจะเป็น “บาริสต้า” เต็มตัว



“ในฟากของเราเองก็เริ่มฝึกผู้ฝึกสอนรุ่นใหม่เข้ามา เพราะการขายเครื่องชงกาแฟเราจะสอนฟรีด้วย แต่ก็เป็นความรู้พื้นฐานของการชงกาแฟทั่วไป ถ้าอยากรู้ลึกๆ กว่านั้นเราก็มีหลักสูตรให้เรียนต่อไปอีก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งตอนนี้เรามี 3 ขั้นคือ 3,000 บาท 6,000 บาท และ 10,000 บาท ผู้เรียนต้องมาเรียนที่ศูนย์ แต่สำหรับร้านใหญ่หรือมีสาขาเยอะสามารถรวบรวมพนักงานมาเรียนได้ 5-6 ขึ้นไป เราก็ยินดีที่จะไปสอนถึงที่ให้ แต่ก็ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า”

การจัดตั้งหน้าร้านที่กลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมไปในตัว เป็นส่วนหนึ่งการสร้างโมเดลให้นักลงทุนได้เห็นได้สัมผัสความเป็นร้านกาแฟสดก่อนตัดสินใจลงทุนจริง

“เราจำหน่ายสินค้าทุกอย่างที่ร้านกาแฟต้องมี เป็น One Stop Shopping เดินถือเงินมาอย่างเดียว เราจัดให้ได้หมด ตั้งแต่เครื่อง จนถึงแก้ว ช้อน จานรอง กระดาษชำระ”

เมื่อตลาดกาแฟบูมขึ้น และนักดื่มก็ต้องการความเป็นมาตรฐาน ระยะเวลาต่อมาซัพพลายเออร์ที่จำหน่ายเครื่องชงกาแฟ เมล็ดกาแฟ และมีความรู้อยู่แล้ว ก็ทยอยสร้างแบรนด์เปิดร้านกาแฟสดขึ้นมาในตลาดด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ของบอนกาแฟเองก็เปิดร้านเช่นเดียวกัน แต่มาลีรัตน์ยังคงยืนยันเช่นเดียวกับหลายปีก่อนว่าการเปิดร้าน “Bon Cafe Bistro” ขึ้นมายังเป็นไปเพื่อต้องการเป็นร้านตัวอย่าง (Pilot Project) ให้ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านกาแฟและเป็นศูนย์เทรนนิ่งด้วยเท่านั้น โดยปัจจุบันนอกจากสาขาในกรุงเทพฯ ที่ถนนรัชดาภิเษกแล้ว บอนกาแฟมีช้อปที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้วยอีก 2 แห่ง คือพัทยา และเชียงใหม่

ย้อนกลับไปสู่ย่อหน้าแรกเราถามเธอถึงสถานการณ์ตลาดร้านกาแฟสดปัจจุบัน ถึงแม้ว่าข้อมูลเรื่องเม็ดเงินจะยังไม่ชัดเจน แต่สิ่งที่เราได้จากเธออาจเป็นประโยชน์แก่ร้านกาแฟหัวใจอินดี้มากกว่าตัวเลขมูลค่าตลาด

“การดื่มกาแฟสดมันเป็นแฟชั่นอยู่พักหนึ่ง แต่ตอนนี้มันเป็น Life Style ไปแล้ว ธุรกิจนี้จึงเป็นเรื่องที่จริงจัง ไม่มีวันดับ ยอดขายของเราจากกลุ่มร้านกาแฟก็เติบโตขึ้นทุกปีเหมือนกัน แต่จะโตน้อยโตมากก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยบวกลบ อย่างปีที่ผ่านมาโตประมาณ 10% ซึ่งน่าจะดีกว่าปีนี้ เพราะหลังจากเกิดระเบิดกลางกรุงเมื่อต้นปี บรรยากาศการลงทุนก็เงียบเหงา ผู้คนไม่อยากใช้จ่าย ไม่มีความมั่นใจกับรัฐบาล

จริงอยู่ที่มีร้านกาแฟรายเล็กล้มหายไปจากตลาดจำนวนไม่น้อย แต่คนเข้ามาใหม่ก็มีตลอดเวลาเหมือนกัน ถามว่าทำไมเขาอยู่ไม่ได้มันก็มีหลายปัจจัย ทั้งจากคุณภาพกาแฟของเขาเอง โลเกชั่น โดยเฉพาะการบริหารจัดการเป็นประเด็นใหญ่ที่เราพบในผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะบางคนไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน ดังนั้นในหลักสูตรของเราจึงมีเรื่องนี้เข้าไปสอนด้วย”
ในฐานะ Coffee Solution มาลีรัตน์และทีมงานต้องเจอกับคำถามจากลูกค้าว่า ทำยังไงให้ร้านกาแฟอยู่ได้และขายดี “สิ่งสำคัญของการทำร้านกาแฟวันนี้คือ การหาความคิดและสิ่งแปลกใหม่สอดแทรกเข้าไปกับร้าน เช่น กลางคืนขายกาแฟดีแคฟ ที่ไม่มีคาเฟอีนจะได้นอนหลับสบาย ถ้าคุณอยู่ใต้ตึกสำนักงาน ลองขายแซนด์วิช เบเกอรี่เพิ่ม ซึ่งมันก็ต้องกลับมามองว่าลูกค้าคุณเป็นใคร โลเกชั่นคุณอยู่ไหน เชื่อว่าคุณจะหาคำตอบนี้ด้วยตัวเอง”

ชั้น 21 อาคารเมืองไทย-ภัทร ตึก 2, 252/110 ถนน รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ประเทศไทยโทรศัพท์: (66-2) 693-2570 โทรสาร: (66-2) 693-2579 อี-เมล์:welcome2@boncafe.co.th
.
,

ไม่มีความคิดเห็น: